Page 16 - kpiebook67035
P. 16

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

             ขณะเดียวกัน แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคม (social immunity) ซึ่งเป็นแนวคิดในแวดวง
          สาธารณสุขที่อธิบายถึงกลไกของร่างกายมนุษยที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อต้านเชื้อโรค
          ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย แต่แนวคิดนี้ยังถูกนำามาใช้ทำาความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม
          ทั้งในแง่มุมอื่น ๆ ทั้งด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร สังคมศาสตร โดยมองว่าภูมิคุ้มกันทางสังคม
          คือ ความสามารถของสังคมในการรับมือต่อความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและการคุกคามที่
          เป็นผลมาจากการแทรกซึมของคุณค่า บรรทัดฐาน แบบแผนพฤติกรรมของวัฒนธรรมอื่นที่เข้าสู่
          สังคม และอาจส่งผลต่อความเป็นกลุ่มก้อนและการปรับตัวของสังคมหนึ่ง ๆ จึงต้องมีการ
          เสริมสร้างกลไกป้องกันสังคมเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในการปกป้องและขัดขวางภัยคุกคามจาก
          ภายนอก การปรับตัวของประชาชนต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนการหลวมรวมและรักษา
          ความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังคมท่ามกลางบริบทการพัฒนาที่ไม่สมดุล (Julia Myslyakova,
          2020) ภูมิคุ้มกันทางสังคมจึงเป็นที่มาของการรักษาเสถียรภาพของกลไกในสังคมและการ
          มีมาตรการที่จำาเป็นเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และรับมือกับภัยคุกคาม
          ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Niklas Luhmann, 2013)
             ด้วยเหตุนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เราจึงจำาเป็นต้องใช้วัคซีนทางสังคม
          (social vaccine) ในทางสาธารณสุข วัคซีนทางสังคมคือ การมุ่งส่งเสริมสุขภาพของประชาชน
          และนโยบายด้านสาธารณสุขที่คำานึงถึงมิติทางสังคมร่วมด้วย โดยให้ความสำาคัญกับความ
          ไม่เท่าเทียมกันในสังคมและปัจจัยสังคมกำาหนดสุขภาพ (social determinants of health)
          ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมของบุคคลที่เชื่อมโยงกับเงื่อนไขในการดำารงชีวิตประจำาวัน เช่น นโยบาย
          และระบบเศรษฐกิจ วาระการพัฒนา บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคมและระบบการเมือง
          (World Health Organization, 2022) แม้ว่าการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมจะไม่สามารถ
          จำาเพาะเจาะจงไปที่โรคใดโรคหนึ่งหรือปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้ แต่ก็สามารถใช้เป็นแนวทาง
          หรือมาตรการในการจัดการกับสถานการณทางสาธารณสุขได้ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม
          ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม (Thomas IN, 2006) ในทำานองเดียวกัน ในแง่มุม
          ด้านสังคมศาสตร การใช้วัคซีนทางสังคมก็คือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมเป็นการเสริมสร้าง
          ความเข้มแข็งให้กับสังคม ผ่านการดำาเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่คำานึงบริบทแวดล้อม
                                                       ้
          ของสังคมนั้น มุ่งเน้นให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมลำาในสังคม โดยเชื่อว่าเมื่อสังคม
          มีภูมิคุ้มกันก็จะไม่เป็น “โรค” หรือทำาให้สังคมมีความสงบสุขได้ นั่นคือ การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
          ในสังคมด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้กับครอบครัวและชุมชน ทั้งที่
          กระทำาด้วยตนเองและผลักดันเป็นนโยบายและทิศทางการพัฒนาประเทศ (ประเวศ วะสี, 2542)



           14
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21