Page 11 - kpiebook67035
P. 11
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมโดยใช้กิจกรรมต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเป็นวัคซีนทางสังคมนั้น
อาจจะไม่ได้ทำาให้เกิดความมั่นคงทางสังคมในเชียงคานได้ในทันทีทันใด เนื่องจากความมั่นคง
ทางสังคมเป็นเป้าหมายปลายทางที่อาจต้องการการวัดผลในระยะยาว ขณะที่กิจกรรมและ
การดำาเนินโครงการวิจัยที่เกิดขึ้นยังดำาเนินการไปได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ความรู้สึก
ถึงความมั่นคงทางสังคมของคนเชียงคานนั้นก็มีทิศทางที่ดีขึ้น กล่าวคือ แม้ว่าความรู้สึกถึง
ความมั่นคงทางสังคมที่เกิดขึ้นหลังการดำาเนินโครงการวิจัยนี้จะยังไม่รู้สึกว่ามีมากนัก แต่ก็มี
ความรู้สึกว่าการดำาเนินโครงการดังกล่าวจะนำาพาชุมชนไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น ชุมชนได้มีส่วนร่วม
ในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นของการออกแบบกิจกรรม อีกทั้งทำาให้มีความมั่นใจในการท่องเที่ยว
เชิงวัฒนธรรมของเชียงคานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีเทศบัญญัติที่เป็นเครื่องมือในการ
จัดการความระเบียบเรียบร้อยของเมือง ควบคู่ไปกับการปกป้องทุนทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
ของชาวเชียงคาน จึงทำาให้ชุมชนรู้สึกถึงความมั่นคงทางสังคมมากขึ้น
การศึกษาวิจัยนี้มีข้อค้นพบและบทวิเคราะหที่แสดงให้เห็นทุนวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาล
ตำาบลเชียงคาน หากแต่ความชัดเจนว่าทุนวัฒนธรรมได้ถูกนำาไปใช้และส่งเสริมต่อความมั่นคง
ทางสังคมหรือไม่ อย่างไรยังต้องการข้อค้นพบที่ชัดเจนมากขึ้น ดังนั้น ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป
ในอนาคต ได้แก่ งานวิจัยเพื่อประเมินและติดตามผลในช่วงระยะแรกของการดำาเนินงาน
ตามแนวทางนโยบาย และแนวทางเชิงปฏิบัติ ตามที่ได้เสนอแนะไป เพื่อให้คณะทำางานในพื้นที่
ดำาเนินการต่อได้ และเพื่อวัดระดับความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
เพียงใด จากการดำาเนินกิจกรรมเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง
9