Page 8 - kpiebook67035
P. 8

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

             2. การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม จากการ
          ค้นหาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จนนำาไปสู่การจัดทำาแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา
          ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อให้ความสำาเร็จเกิดขึ้นได้จริงตามนั้นจึงได้กำาหนดวาระของชุมชนเป็น
          “สัญญาใจไทเชียงคาน” ซึ่งเปรียบเสมือนกับวัคซีนทางสังคม และเชื่อว่าจะทำาให้เชียงคาน
          มีภูมิคุ้มกันทางสังคมและป้องกันเมืองเชียงคานจากภัยคุกคามได้ วัคซีนทางสังคมจึงประกอบขึ้น
          จากทุนทางวัฒนธรรมที่มีในเชียงคาน และการดำาเนินกิจกรรมต่าง ๆ (activities) เพื่อสร้าง
          การมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้ โดยประชาชน
          ชาวเชียงคาน เทศบาลตำาบลเชียงคาน  และสถาบันพระปกเกล้า  ได้ร่วมกันคัดเลือกไปดำาเนินกิจกรรม
          จำานวน 2 กิจกรรม ได้แก่ การสร้างธรรมนูญเชียงคานผ่านกระบวนการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติ
          ท้องถิ่น และการอนุรักษประเพณีวัฒนธรรมผ่านบทเพลงของเยาวชน สรุปกิจกรรมได้ดังนี้
                หนึ่ง กิจกรรมการสร้างธรรมนูญเชียงคานผ่านกระบวนการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
          ซึ่งเป็นการริเริ่มกฎหมายท้องถิ่นโดยประชาชน (law initiatives) และใช้สิทธิที่ได้รับการรับรอง
          ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 254 ที่กำาหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองคกรปกครอง
          ส่วนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอข้อบัญญัติได้ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อ
          เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 ซึ่งกระบวนนี้ได้นำาไปสู่การยกร่างเทศบัญญัติเทศบาลตำาบล
          เชียงคาน เรื่อง การอนุรักษ ส่งเสริมและพัฒนาวิถีวัฒนธรรมชุมชนบ้านไม้เก่า พ.ศ. 2566
          ซึ่งเนื้อหาของร่างข้อบัญญัติครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น การควบคุมการจำาหน่ายเครื่องดื่ม
          แอลกอฮอลในถนนคนเดินเชียงคาน การตักบาตรข้าวเหนียวที่เคารพคุณค่าดั้งเดิมของชุมชน
          และไม่เอาเปรียบนักท่องเที่ยว การใช้ป้ายโฆษณาและประชาสัมพันธที่เหมาะสม การก่อเหตุ
          เดือดร้อนรำาคาญ การควบคุมสิ่งเสพติด การทิ้งขยะ ตลอดจนบทกำาหนดโทษ ร่างข้อบัญญัติฉบับนี้
          จึงเป็นการส่งเสริมให้วิถีวัฒนธรรมชุมชนบ้านไม้เก่าของเชียงคานได้รับการรักษา ส่งต่อ และ
          พัฒนาให้มีความยั่งยืนต่อไป ทำาให้เชียงคานเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ปลอดภัย
          และน่าอยู่ อีกทั้งยังทำาให้เชียงคานเป็นเมืองที่ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันได้ ทั้งผู้ที่อยู่อาศัยและ
          ผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวอีกด้วย
               การสร้างธรรมนูญเชียงคานผ่านกระบวนการเข้าชื่อเสนอเทศบัญญัติจึงได้ทำาให้
          ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการจัดสรรวาระทางกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่น
          ซึ่งจะเป็นการสะท้อนความต้องการของประชาชนในประเด็นนั้น ๆ โดยตรง เพราะอาจไม่มีกฎหมาย
          หรือกฎระเบียบรับรอง หรือกฎหมายหรือกฎระเบียบที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ
          ของประชาชน



           6
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13