Page 6 - kpiebook67035
P. 6
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
บทสรุปผู้บริหาร
การศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมเป็นการนำาองคความรู้
ในมิติทางวัฒนธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้สังคมเกิดความเข้มแข็งด้วยการใช้
ทุนทางวัฒนธรรมที่มีไปต่อยอดอย่างสร้างสรรค ภายใต้อัตลักษณ ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ
วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามของคนในท้องถิ่น โดยมองว่าภูมิคุ้มกัน
ทางสังคมเป็นความสามารถของสังคมในการรับมือต่อความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและ
การคุกคามที่เป็นผลมาจากการแทรกซึมของคุณค่า บรรทัดฐาน แบบแผนพฤติกรรมของ
วัฒนธรรมอื่นที่เข้าสู่สังคม ที่อาจส่งผลต่อความเป็นกลุ่มก้อนและการปรับตัวของสังคมหนึ่ง ๆ
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการเสริมสร้างกลไกป้องกันสังคมเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในการปกป้องและขัดขวาง
ภัยคุกคามจากภายนอก การปรับตัวของประชาชนต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจน
การหลอมรวมและรักษาความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังคมท่ามกลางบริบทการพัฒนาที่ไม่สมดุล
ภูมิคุ้มกันทางสังคมจึงเป็นที่มาของการรักษาเสถียรภาพของกลไกในสังคมและการมีมาตรการ
ที่จำาเป็นเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และรับมือกับภัยคุกคามได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงคการศึกษาเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม อีกทั้งเพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคง
ทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม ตลอดจนศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมที่มีประสิทธิผล
ต่อการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม ดำาเนินงานระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566 รวมระยะเวลา
12 เดือน รวบรวมข้อมูลผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop method) การประชุม
ถอดบทเรียน และการสัมภาษณเชิงลึก มีขอบเขตการศึกษาประกอบด้วย ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย
ได้แก่ ผู้บริหารองคกรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรขององคกรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำาหรือ
ผู้แทนชุมชนในพื้นที่ ปราชญชาวบ้าน ผู้นำาทางความคิด ผู้ทรงคุณวุฒิ ประชาชนในพื้นที่ ประธาน
สภาวัฒนธรรมอำาเภอ และประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด ขอบเขตด้านพื้นที่เป้าหมายคือ
เทศบาลตำาบลเชียงคาน อำาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และขอบเขตด้านเนื้อหาและกระบวนการ
4