Page 10 - kpiebook67035
P. 10

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

             4. แนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมเป็นข้อเสนอแนะ
          จากคณะผู้วิจัย แบ่งเป็นแนวทางสำาหรับเทศบาลตำาบลเชียงคาน และแนวทางสำาหรับพื้นที่อื่น
          เพื่อนำาไปประยุกตใช้ ดังนี้
                หนึ่ง แนวทางสำาหรับเทศบาลตำาบลเชียงคาน กล่าวคือ เทศบาลตำาบลเชียงคานควร
          ร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำาเภอเชียงคาน ในการผลักดันนโยบายและงบประมาณที่ส่งเสริม
          ทุนวัฒนธรรมตามแผนฯ ต่อไป ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุง
          กิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับสถานการณหรือปัจจัยภายนอกที่อาจเข้ามากระทบกับชุมชน
          ขณะเดียวกันผู้แทนภาคประชาชนควรร่วมมือกับเทศบาลตำาบลเชียงคานในการติดตามผล
          การบังคับใช้เทศบัญญัติที่ได้มีการเข้าชื่อเสนอไป ควบคู่ไปกับการรวบรวมประเด็นความต้องการ
          หรือข้อเสนออื่น ๆ ที่ควรนำาไปผลักดันเป็นเทศบัญญัติต่อไป นอกจากนี้ เทศบาลตำาบลเชียงคาน
          และภาคประชาชนควรมีการตั้งกลุ่มคณะทำางานจากคนหลากหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้าน
          กลุ่มเยาวชน กลุ่มนางรำาร้อยปี กลุ่มผู้ประกอบการ ฯลฯ เพื่อเป็นคณะทำางาน ติดตาม ประเมิน
          และทำารายงานเผยแพร่กิจกรรมเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องต่อไป
                สอง แนวทางสำาหรับพื้นที่อื่น ๆ กล่าวคือ จากการศึกษาวิจัยตลอดโครงการ คณะผู้วิจัย
          ได้พัฒนาตัวแบบเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วย
          ทุนทางวัฒนธรรมสำาหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่สามารถนำาไปประยุกตใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของ
          พื้นที่ได้ ได้แก่ (1) กระบวนการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่ (2) การจัดทำาแผนการใช้
          ทุนทางวัฒนธรรม ระบุรายละเอียดถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการดำาเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบ
          การดำาเนินงาน รวมไปถึงแหล่งทุนสนับสนุน (3) การนำาแผนการใช้ทุนทางวัฒนธรรมไปสู่
          การปฏิบัติจริง (4) การถอดบทเรียนและปรับปรุงแก้ไข โดยการประเมินผลการดำาเนินงาน
          ที่เกิดขึ้น ปัจจัยความสำาเร็จ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและข้อจำากัด ตลอดจนข้อเสนอแนะสำาหรับ
          การแก้ไขปรับปรุงเพื่อการต่อยอดการดำาเนินงานต่อไป ทั้งนี้ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่
          ควรคำานึงถึงระหว่างการดำาเนินงาน กล่าวคือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ หน่วยงานภายนอกที่เข้ามา
          สนับสนุน กระแสสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ขณะที่ปัจจัย
          ภายใน ได้แก่ การสื่อสารภายในชุมชน และที่สำาคัญคือ ความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนเอง
             สรุปและข้อเสนอแนะของการศึกษาวิจัยนี้ กล่าวคือ จากการที่จุดมุ่งหมายที่สำาคัญของ
          การศึกษาวิจัยนี้ คือ การใช้วัคซีนทางสังคม (social vaccine) เพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
          ทางสังคม (social immunity) อันจะนำาไปสู่ความมั่นคงทางสังคมในท้ายที่สุด โดยวัคซีนทางสังคม
          เป็นกิจกรรมการมีส่วนร่วมเพื่อต่อยอดจากทุนทางวัฒนธรรมที่มีในเชียงคาน อย่างไรก็ตาม



           8
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15