Page 9 - kpiebook67035
P. 9

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


                สอง กิจกรรมการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมผ่านบทเพลงของเยาวชน เป็นการนำา
          เรื่องราวของทุนทางวัฒนธรรมทั้งประเพณี วัฒนธรรม อาหาร ขนม ตำานาน ภาษาถิ่น สถานที่
          สำาคัญของเชียงคาน มาร้อยเรียงเป็นบทเพลงให้มีความน่าสนใจและร่วมสมัย โดยให้เยาวชน
          ของเชียงคานมีบทบาทสำาคัญในการถ่ายทอดขับขานบทเพลงเหล่านั้น ซึ่งกิจกรรมนี้ได้สร้าง
          การมีส่วนร่วมระหว่างคนในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ครู และผู้ปกครอง ที่ร่วมกันแต่งเพลง
          ระดมความคิดเห็นค้นหาเรื่องราวของเชียงคาน เช่น ทุนทางวัฒนธรรมที่มีในชุมชน ตำานานพื้นบ้าน
          เรื่องเล่าต่าง ๆ ที่เล่าสืบต่อกันมา สถานที่สำาคัญทางประวัติศาสตรและศาสนา เป็นต้น นอกจากนี้
          บทเพลงที่ได้รับการแต่งขึ้นนี้จะเกิดประโยชนอย่างยิ่งต่อเชียงคาน เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของ
          เชียงคาน ใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธแก่คนภายนอก รวมถึงคนในเชียงคาน โดยเฉพาะคนนอก
          ที่เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ในพื้นที่ และเยาวชนลูกหลานชาวเชียงคาน
             3.  การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม (social immunity) ที่เกิดขึ้นในเชียงคานภายใต้การดำาเนิน
          โครงการนี้ จะเห็นได้จาก
                หนึ่ง การมีวาระร่วมของชุมชนเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรม ทั้งในแง่มุมของการปกป้อง
          และรักษาให้คงอยู่ และการต่อยอดใช้ประโยชนจาก “คุณค่า” (value) ของทุนทางวัฒนธรรม
          ที่มีเพื่อให้เกิด “มูลค่า” (cost) ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและคนเชียงคานได้ วาระร่วม
          (agenda) ดังกล่าวในทางหนึ่งจึงเป็นการจัดวางตำาแหน่งแห่งที่ (positioning) ของเชียงคาน
          ให้มีความชัดเจน ว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร จะพัฒนาเชียงคานไปในทิศทางใด ซึ่งเป็นวาระร่วม
          ที่ไม่ได้เกิดจากการชี้นิ้วสั่งการ แต่มาจากการสะท้อนความคิดเห็นและความต้องการจากคน
          ในชุมชนเอง ทั้งชุมชนบ้านเหนือและชุมชนบ้านใต้
                สอง การมีกติกาสังคมที่เป็นทางการ โดยกฎหมายท้องถิ่นเป็นมาตรการหรือเครื่องมือ
          ในการจัดระเบียบเมืองผ่านกระบวนการเข้าชื่อเสนอร่างเทศบัญญัติเทศบาลตำาบลเชียงคาน
          เรื่อง การอนุรักษ ส่งเสริมและพัฒนาวิถีวัฒนธรรมชุมชนบ้านไม้เก่า พ.ศ. 2566 ซึ่งเนื้อหาของ
          ร่างเทศบัญญัติฉบับนี้มาจากความเห็นของผู้คนในชุมชน มีความแตกต่างออกไปจากเทศบัญญัติ
          ฉบับอื่น ๆ ของเทศบาลตำาบลเชียงคานที่กำาหนดวาระมาจากฝ่ายการเมืองท้องถิ่น
                สาม การมีแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชนในอนาคต ด้วยกระบวนการรับฟังความคิดเห็น
          และกระบวนการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยประชาชน เพื่อที่ว่าในอนาคตเมื่อเชียงคาน
          เจอประเด็นปัญหาใหม่ ๆ หรือภัยคุกคามใหม่ ๆ จะสามารถใช้แนวทางนี้เพื่อรับมือกับสิ่งเหล่านั้นได้







                                                                         7
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14