Page 4 - kpiebook67035
P. 4

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

                             คำานำาสถาบันพระปกเกล้า





             รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคต
          ประชาธิปไตยไทย กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่
          เทศบาลตำาบลเชียงคาน” นี้ คณะผู้วิจัย สถาบันพระปกเกล้าจัดทำาขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายหลัก
          ในการศึกษาแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่
          มีเทศบาลตำาบลเชียงคาน อำาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นพื้นที่กรณีศึกษา เนื่องจากมี
          ประวัติศาสตรความเป็นมาที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไข
          ทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ โดยกระบวนการปรับเปลี่ยนพื้นที่
          สู่การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรมเกิดจากกระแสของการจัดการท่องเที่ยว
          โดยชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งลักษณะดังกล่าวมีความท้าทายทางทุนวัฒนธรรมว่ามีปัจจัยใด

          ที่ควรให้ความสำาคัญ และจะพัฒนาพื้นที่อย่างไรให้คงความมั่นคงทางสังคมตามระบอบ
          ประชาธิปไตย
             การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่เทศบาลตำาบล
          เชียงคาน จึงเป็นแนวทางการใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีไปต่อยอดอย่างสร้างสรรค ภายใต้อัตลักษณ
          ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามของคนในท้องถิ่น
          อันเป็นการสอดคล้องกับหลักสิทธิของบุคคลและชุมชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
          มาตรา 43 และให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษและยั่งยืนในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคานดำารงอยู่ได้

          ภายใต้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีพลวัต สร้างสรรคและยั่งยืน และที่สำาคัญคือ เกิดจากการมีส่วนร่วม
          ของประชาชนในพื้นที่ที่คำานึงถึงประโยชนที่จะเกิดขึ้น สอดรับกับความต้องการและสภาพบริบท
          ของพื้นที่อย่างแท้จริง อันเป็นวิถีการเสริมสร้างความมั่นคงของสังคมตามระบอบของประชาธิปไตย
             สถาบันฯ ขอขอบคุณผู้บริหารท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน ประธานสภาชุมชน ผู้นำา
          ชุมชน กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้สูงอายุ ครู ข้าราชการ เยาวชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่เทศบาล
          ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในครั้งนี้ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้
          พิจารณาและให้ข้อเสนอแนะที่สำาคัญต่อการปรับปรุงเนื้อหางานวิจัย สถาบันฯ หวังเป็นอย่างยิ่ง






           2
   1   2   3   4   5   6   7   8   9