Page 7 - kpiebook67035
P. 7

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
          และการพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม นอกจากนี้
          การทบทวนแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องของโครงการวิจัยนี้ ประกอบด้วย แนวคิดความมั่นคง

          ทางสังคม (Social security) แนวคิดทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital) แนวคิดภูมิคุ้มกัน
          ทางสังคม (Social immunity) แนวคิดคุณภาพสังคม (Social quality) แนวคิดความเป็นพลเมือง
          (Citizenship) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
             ผลการศึกษาที่สำาคัญมีดังนี้
             1. การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นวัคซีนทางสังคม โดยทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่เชียงคาน
          หากจำาแนกประเภททุนทางวัฒนธรรม พบว่า (1) ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล ได้แก่ ศักยภาพ
          ของคนเชียงคาน อุปนิสัยของคนเชียงคานที่มีน้ำาใจ เอื้ออาทร รักบ้านเกิด และยิ้มสวย ความรู้
          ภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนเชียงคาน รวมถึงการพูดภาษาถิ่นไท-เชียงคานที่เป็นเอกลักษณเฉพาะ
                                                                        ้
          (2) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ ขนมพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง เช่น ข้าวปุ้นนำาแจ่ว
          ข้าวปุ้นฮ้อน ลาบปลา ตำาส้มเชียงคาน แจ่วหมากกอก เอาะเนื้อวัว ซ่าปลา ตำาซั่ว ห่อหมกถั่วเน่า
          เมี่ยงคำา คั่วปลาร้าสมุนไพร ข้าวจี่ ข้าวหัวหงอก ป่นปลา แจ่วบอง ส้มปลาน้อย รวมถึงหัตถศิลป์
          หรือสิ่งประดิษฐของชุมชน เช่น เรือไฟบก ผ้าห่มนวมทำาจากฝ้าย กระดาษสร้อยสา ครกตำาข้าวปุ้น
          การตัดกระดาษสร้อยสา เป็นต้น ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ การแต่งกาย ชุมชนบ้านไม้เก่า
          ถนนคนเดิน วัด แหล่งท่องเที่ยวที่สำาคัญ การแสดงพื้นเมือง การละเล่นพื้นบ้าน และ (3) ทุนวัฒนธรรม
          ที่เป็นสถาบัน ได้แก่ ประเพณีสำาคัญของชุมชนในแต่ละเดือน หรือประเพณี ฮีต 12 คอง 14
                                                           ้
          เช่น ประเพณีใส่บาตรข้าวเหนียว ประเพณีข้าวพันก้อน ประเพณีแห่นำา เป็นต้น
               จะเห็นได้ว่า ทุนทางวัฒนธรรมของเชียงคานมีความหลากหลายและครอบคลุมทั้ง
          ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม และทุนวัฒนธรรมที่เป็นสถาบัน
          ซึ่งทุนทางวัฒนธรรมของเชียงคานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของสังคมและวิถีชีวิตที่
          เป็นอัตลักษณของเชียงคาน ที่ฝังอยู่ในตัวชุมชนและสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมาจนถึงปัจจุบัน และ
          สามารถต่อยอดทำาให้เกิดประโยชนต่อคนในพื้นที่ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้ โดยเฉพาะ
          ในด้านเศรษฐกิจ ตามที่ปรากฎในทุกวันนี้ เมืองเชียงคานกลายเป็นจุดหมายปลายทางของ
          การท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยมีทุนทางวัฒนธรรม เช่น ถนนคนเดิน
          ชุมชนบ้านไม้เก่า อาหารพื้นเมือง เป็นเสน่หและสิ่งที่ดึงดูดความน่าสนใจจากคนภายนอกได้
          เป็นอย่างดี และนำาไปสู่การสร้างรายได้ให้กับคนเชียงคาน




                                                                         5
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12