Page 15 - kpiebook67035
P. 15

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


                                    บทที่ 1 บทนำา


           1.1 หลักการและเหตุผล
             นับตั้งแต่ยุคหลังสิ้นสุดสงครามเย็นเป็นต้นมา นัยยะของความมั่นคงของชาติได้มีการ
          เปลี่ยนแปลงไปและมิได้มีความหมายจำากัดเพียงความมั่นคงของรัฐเท่านั้น แต่ภัยคุกคามต่อ
          ความมั่นคงของชาติกลายเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการทหารและการใช้กองกำาลังอีกต่อไป เช่น
          การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก การตกอยู่ในสภาวะขาดแคลนทรัพยากรที่จำาเป็น
          การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ การย้ายถิ่นฐานข้ามแดนผิดกฎหมาย ขบวนการอาชญากรรม
          ข้ามชาติ การถูกโจรกรรมข้อมูลทางไซเบอร เป็นต้น (Mely Caballero-Anthony, 2016)
          ความมั่นคงในมุมมองใหม่นี้จึงเป็นความมั่นคงใหม่ (new security) มีความเกี่ยวข้องและ
          ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย (human security) และความมั่นคงทางสังคม (societal
          security) โดยตรง
             ความมั่นคงทางสังคมนั้น ในแง่มุมของหลักสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงทางสังคมเป็นสิ่งที่
          ทุกคนพึงมีเพื่อให้มีหลักประกันต่อสิทธิและเสรีภาพ รวมทั้งการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย
                                                       ้
          ความมั่นคงทางสังคมจึงมีความสำาคัญต่อการลดความเหลื่อมลำา ป้องกันการกีดกันทางสังคม
          (social exclusion) และส่งเสริมให้เกิดการยอมรับกันอย่างเท่าเทียม (social inclusion)
          (UN Human Rights, 2022) ขณะเดียวกันในแง่มุมทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทางสังคมเป็นการ
          ปกป้องคุ้มครองทางสังคมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพและมีการ
          รับรองความมั่นคงทางรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำาหรับกลุ่มเปราะบางทางสังคม (International
          Labour Organization, 2022) ความมั่นคงทางสังคมจึงมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับชีวิต
          ความเป็นอยู่ของผู้คน ทั้งในระดับปัจเจก ครัวเรือน และสังคม
             การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมเป็นการปกป้องคุ้มครองและลดความเสี่ยงที่อาจจะ
                                                                   ้
          เกิดขึ้นในการดำาเนินชีวิตของประชาชน ซึ่งมีส่วนสำาคัญในการลดความเหลื่อมลำาและส่งเสริม
          ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยด้วยการสร้างหลักประกันต่อสิทธิและเสรีภาพ สร้างกลไกเพื่อขจัด
          เงื่อนไขที่เป็นภัยคุกคามต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย ตลอดจนสนับสนุนความต้องการพื้นฐานที่พึง
          ได้รับและความจำาเป็นในการดำารงชีวิต การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมจึงมีความสอดคล้อง
          ตามวิถีทางของการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานการคำานึงถึงศักดิ์ศรี
          ความเป็นมนุษย ส่งเสริมการมีสิทธิและเสรีภาพ และรับรองความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
          (people well-being)



                                                                        13
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20