Page 18 - kpiebook67035
P. 18
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่จะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ควบคู่ไปการเผยแพร่
ทุนทางวัฒนธรรมที่มีไปสู่คนภายนอก
สำาหรับงานวิจัยชิ้นนี้ มีจุดมุ่งหมายหลักในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมโดยใช้ทุน
ทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่ โดยมีเทศบาลตำาบลเชียงคาน อำาเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เป็นพื้นที่
กรณีศึกษานำาร่อง เนื่องจากเทศบาลตำาบลเชียงคานเป็นพื้นที่การพัฒนาเมืองที่มีขนาดเหมาะสม
ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจยังไม่มากเกินไปดังเช่นเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ อีกทั้งยังมี
คุณลักษณะทางวัฒนธรรมที่สำาคัญ ได้แก่ มีพื้นที่ติดต่อกับเขตภูทอกและภูหมอน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่
ป่าสงวนและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำาโขง มีสถานที่สำาคัญและประเพณีที่เป็นเอกลักษณของพื้นที่ อีกทั้ง
ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ (องคการบริหาร
การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, 2564)
เชียงคานเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตรความเป็นมาที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมซึ่งมีการพัฒนา
เปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ โดย
กระบวนการปรับเปลี่ยนพื้นที่สู่การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรมเกิดจากกระแส
ของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถสร้างความยั่งยืน
ให้กับแหล่งท่องเที่ยวได้ ภายใต้อัตลักษณของพื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรมเชียงคาน ที่มี
ประวัติศาสตรเฉพาะชุมชน ภูมิทัศนวัฒนธรรม ความโบราณของเรือนชายโขง ความเรียบง่าย
และความงดงามของวิถีชีวิตและพิธีกรรมที่สัมพันธกับศาสนาและความเชื่อ (ไทยโรจน พวงมณี,
2559) อย่างไรก็ตาม เมื่อการท่องเที่ยวเชียงคานได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงขึ้นในชุมชน เกิดปรากฏการณทำาให้วัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
(ณัฐพล มีแก้ว, 2555) ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้ามีส่วนทำาให้
วัฒนธรรมไม่สามารถที่จะใช้กับชีวิตต่อไปได้อีก ทำาให้วัฒนธรรมหมดพลังที่จะเปลี่ยนแปลง
อย่างสร้างสรรคต่อไป (นิธิ เอียวศรีวงศ, 2536) ซึ่งลักษณะดังกล่าวของเทศบาลตำาบลเชียงคาน
มีความท้าทายทางทุนวัฒนธรรมทั้ง 3 รูปแบบ ได้แก่ เป็นสิ่งที่ฝังอยู่ในตัวคนหรือกลุ่มคน รูปลักษณ
และตัวตน กับความเป็นสถาบัน ว่ามีปัจจัยใดที่ควรให้ความสำาคัญ และจะพัฒนาพื้นที่อย่างไร
ให้คงความมั่นคงทางสังคมตามระบอบประชาธิปไตยด้วย
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่เทศบาลตำาบล
เชียงคาน จึงเป็นแนวทางการใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มี ไปต่อยอดอย่างสร้างสรรค ภายใต้อัตลักษณ
ส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมและจารีตประเพณีอันดีงามของคนในท้องถิ่น
อันเป็นการสอดคล้องกับหลักสิทธิของบุคคลและชุมชนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
16