Page 19 - kpiebook67035
P. 19
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
ฉบับปัจจุบันมาตรา 43 และให้การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษและยั่งยืนในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
ดำารงอยู่ได้ภายใต้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีพลวัต สร้างสรรคและยั่งยืน และที่สำาคัญคือ เกิดจาก
การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่คำานึงถึงประโยชนที่จะเกิดขึ้น สอดรับกับความต้องการ
และสภาพบริบทของพื้นที่อย่างแท้จริง อันเป็นวิถีการเสริมสร้างความมั่นคงของสังคมตามระบอบ
ของประชาธิปไตย
1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
ของพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมของพื้นที่
เทศบาลตำาบลเชียงคาน
3) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมที่มีประสิทธิผลต่อการเสริมสร้างความมั่นคง
ทางสังคมของพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความเห็นร่วมกันของ
คนในพื้นที่เพื่อร่วมกันแสวงหาแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
2) ได้แนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
1.4 นิยามศัพท์
ทุนทางวัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่าและสืบทอดกันมาของแต่ละชุมชนหรือพื้นที่
ซึ่งสามารถทำาให้เกิดประโยชนต่อคนในพื้นที่นั้นทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้
ภูมิคุ้มกันทางสังคม หมายถึง ความสามารถของสังคมในการรับมือกับปัจจัยภายนอกและ
การคุกคามที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคม
วัคซีนทางสังคม หมายถึง การเสริมสร้างกลไกป้องกันสังคมเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในการรับมือ
กับภัยคุกคามต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
17