Page 24 - kpiebook67035
P. 24

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          หรือดำาเนินโครงการให้เกิดความสำาเร็จ หากแต่ภาคประชาชน เอกชน สื่อสารมวลชนสามารถ
          เข้ามามีบทบาทที่จะใช้สิ่งดีที่มีอยู่ในชุมชนในการร่วมสร้างความมั่นคงทางสังคมได้


           2.2 แนวคิดทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital)
             หากกล่าวถึงทุนทางวัฒนธรรม อาจจำาแนกออกเป็นการพิจารณาความหมายของคำาว่า
          “ทุน” ออกจากคำาว่าวัฒนธรรมเสียก่อน เพราะ “ทุน” มักถูกอ้างถึงในเชิงเศรษฐกิจ ดังที่
          Throsby กล่าวว่าทุนเป็นสิ่งที่ถูกนำามารวมเข้ากับปัจจัยอื่นอย่างแรงงาน แล้วก่อให้เกิดสินค้าขึ้น
          ทุนจึงเป็นพื้นฐานในการตีความกระบวนการผลิตในทางเศรษฐศาสตร ที่รวมไปถึงอาคารและ
          อุปกรณ เครื่องจักร อาคารและอื่น ๆ (David Throsby, 1999, p.166)
             ต่อมาทุนจึงถูกขยายผลไปให้หมายถึงทุนในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การลงทุน
          ในทุนมนุษย ทุนทางธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดเรื่องทุนได้ขยายไปสู่พื้นที่ของศิลปะและ
          วัฒนธรรม โดยดึงลักษณะเด่นของงานศิลปะและสินค้าทางวัฒนธรรมมาเป็นสินทรัพย เพื่อให้
          ทุนวัฒนธรรมเข้าไปมีส่วนรวมเข้ากับปัจจัยการผลิตอื่น ๆ ในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งทุน
          ทางวัฒนธรรมยังถูกนำาไปขยายความในมิติอื่นนอกเหนือจากทางเศรษฐกิจ อย่างในมิติของสังคม
          (David Throsby, 1999, p.167) สอดคล้องกันกับ ณัชชา ศิรินธนาธร (2561, น.1585-1587)
          ที่อ้างถึงแนวคิดว่าด้วยเรื่องทุนของปิแอร บูรดิเยอว่าแบ่งเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ ทุนทางเศรษฐกิจ
          ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม (ความสัมพันธ เครือข่ายทางสังคม ฯลฯ) และทุนสัญลักษณ
          (ความมีเกียรติยศ ชื่อเสียง การได้รับการยอมรับนับถือ ฯลฯ)
             สำาหรับความหมายของทุนทางวัฒนธรรม มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้อย่าง
          ใกล้เคียงกันโดยมีรายละเอียดแตกต่างกันเล็กน้อย ยกตัวอย่าง Prieur et al กล่าวว่า ทุนทาง
          วัฒนธรรม (Cultural capital) เป็นตัวตนที่ฝังตัวอยู่ในบริบททางสังคม และด้วยเหตุนี้จึงเป็น
          ส่วนหนึ่งที่ทำาให้ทุนทางวัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (Prieur et al, 2008, p.50)
             Throsby ให้ความหมายในเชิงสังคมวิทยาว่าทุนทางวัฒนธรรมหมายถึง ความสามารถของ
          แต่ละบุคคลในเชิงวัฒนธรรม ซึ่งถ้ามองในแง่เศรษฐกิจจะสามารถตีความได้ว่าเป็นลักษณะของ
          ทุนมนุษย นักสังคมวิทยายังกล่าวถึง “ทุนทางสังคม” ซึ่งหมายถึงเครือข่ายทางสังคมและ
          ความสัมพันธที่มีอยู่ในชุมชน แนวคิดนี้ทับซ้อนกันกับรูปแบบของทุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
          หรือ “ระบบนิเวศวัฒนธรรม” ซึ่งหมายถึงวัฒนธรรมร่วมกัน เครือข่ายและความสัมพันธที่เอื้ออำานวย
          ต่อวัฒนธรรมสังคมและปฏิสัมพันธทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกในกลุ่ม (David Throsby, 1999,
          pp.168-169) สอดคล้องกันกับ อนันต คติยะจันทร และคณะ (2564) ที่ว่าวัฒนธรรมท้องถิ่น



           22
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29