Page 27 - kpiebook67035
P. 27

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          ทุนวัฒนธรรมที่เป็นตัวตน (Embodied) วัตถุ (Objectified) และสถาบัน (Institutionalized)
          ในจังหวัดโกเลสถาน (Golestan) ของอิหร่าน และพบว่าทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งผลต่อ
          “ความรู้สึกมั่นคงทางสังคม”
             ส่วน Nazaktabar and Kiyapei (2022) มีการศึกษาที่คล้ายกัน โดยศึกษาผลกระทบ
          ของทุนทางวัฒนธรรมต่อความรู้สึกมั่นคงทางสังคมของผู้หญิงในเมืองส่าหรี (Sari) ในจังหวัด
          Mazandaran ของอิหร่าน พบว่ามีความสัมพันธเชิงบวกอย่างมีนัยสำาคัญระหว่างองคประกอบ
          ของทุนทางวัฒนธรรมกับความรู้สึกมั่นคงทางสังคมในกลุ่มผู้หญิง ดังนั้น สถาบันการศึกษาและ
          สื่อสังคมออนไลนโดยเฉพาะเครือข่ายทีวีสามารถให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางสังคมของผู้หญิง
          ผ่านรายการโทรทัศนที่มีคุณภาพ
             ส่วนการศึกษาวิจัยในประเทศไทย ประเด็นการศึกษาวิจัยทุนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับ
          การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม พบว่ามีการศึกษาในประเด็นทุนทางวัฒนธรรมที่พบ
          ในแต่ละพื้นที่ ปัญหาอุปสรรคของการเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ศึกษา ตลอดจน
          ให้ข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรม
             ยกตัวอย่าง โฆสิต แพงสร้อย (2561, น.38-39) ศึกษาเรื่องการจัดการทางวัฒนธรรมของ
          ผู้นำาชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมสร้างความมั่นคงทางสังคมอย่างยั่งยืน
          พบอุปสรรค ได้แก่ การวางแผนที่ขาดการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน การจัดโครงสร้างการทำางานยังขาด
          การเข้ามาร่วมงานของกลุ่มเยาวชนและผู้หญิง ขาดความเชื่อมโยงคณะทำางานแต่ละชุด การจัด
          คนทำางานยังขาดผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านวัฒนธรรม ส่วนการควบคุมติดตามผล ยังขาด
          ความต่อเนื่องของการปฏิบัติงาน และได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติต่อการส่งเสริมกิจกรรม
          ทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ ได้แก่ การจัดตั้ง
          ศูนยอำานวยการกลางชุมชนที่ครบถ้วน เช่น มีวัสดุอุปกรณในการบันทึกและจัดเก็บข้อมูล เป็นศูนย
          ประสานงานและขับเคลื่อนโครงการ นอกจากนี้ ควรมีการจัดอบรมผู้นำาชุมชน ประชาชน
          เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดการทางวัฒนธรรม โดยทำาการเผยแพร่ในช่องทางที่หลากหลาย
          และกว้างขวาง
             ชวดี โกศล (2561) ศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุเขตพื้นที่ภาคเหนือ พบ
          ว่า การรวมตัวของประชาชนกลุ่มชาติพันธุทำาให้เกิดพลังในการต่อรองเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย
          ของรัฐร่วมกับคนในท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค ทุนทางวัฒนธรรมในการรวมกลุ่มได้ถูกนำามาใช้
          ประโยชนต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจ ทำาให้เกิดการสร้างรายได้และสามารถยึดเป็นอาชีพหลักและ
          อาชีพเสริม ในเชิงประโยชนต่อสังคมทุนทางวัฒนธรรมช่วยให้เกิดความเข้มแข็ง และความสามัคคี



                                                                        25
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32