Page 26 - kpiebook67035
P. 26

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          ประกอบด้วยงานศิลปะ ได้แก่ ดนตรี วรรณกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ
          ที่สืบทอดกันมาและประกอบขึ้นเป็นวัฒนธรรมของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่กำาหนดในระดับชาติ
          ระดับภูมิภาค ศาสนา ชาติพันธุ นอกจากนี้ ทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ยังมีอยู่ในเครือข่าย
          วัฒนธรรมและความสัมพันธที่สนับสนุนมนุษย (David Throsby, 1999, p.168)
             ขณะเดียวกัน หากมองทุนทางวัฒนธรรมตามประเภท มีนักวิชาการหลายท่านเห็น
          สอดคล้องกันว่าทุนทางวัฒนธรรมแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล
          (embodied form) ได้แก่ ความสามารถ ความรอบรู้ด้านศิลปะ บุคลิกที่สง่างาม ทักษะ รสนิยม
          ฯลฯ 2) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (objectified state) เป็นทุนวัฒนธรรมที่แสดงออก
          เชิงวัตถุในรูปของสื่อหรือสิ่งของ เช่น รูปภาพ งานเขียน หนังสือ พจนานุกรม อนุเสาวรีย เครื่องมือ
          เครื่องจักร ของสะสม ฯลฯ 3) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นสถาบัน (institutionalization state)
          เป็นทุนที่มีความยึดโยงกับความเป็นสถาบัน เช่น ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองการจบการศึกษา
          จากสถาบันที่มีชื่อเสียง การได้ทำางานในองคกรขนาดใหญ่ ฯลฯ (ณัชชา ศิรินธนาธร (2561,
          น.1588; กัญญารัตน แก้วกมล และคณะ, 2564, น.79-80; อนันต คติยะจันทร และคณะ,
          2564, น.192)
             อย่างไรก็ตาม การแบ่งประเภทของทุนทางวัฒนธรรมก็เพื่อประโยชนในการทำาความเข้าใจ
          ได้ง่าย ซึ่งงานวิจัยนี้ยึดถือตามประเภทของทุนทางวัฒนธรรมอย่างหลังที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
          เนื่องจากสามารถนำาไปใช้ประโยชนในเชิงการวิเคราะหจำาแนกปัจจัยตลอดจนข้อเสนอแนะ
          ของการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมได้มากกว่า
             ประโยชนของทุนวัฒนธรรมมีหลายประการ ทำาให้เกิดประโยชนทั้งทางตรงและทางอ้อม
          ในทางตรงเห็นได้ชัดว่าทุนทางวัฒนธรรมทำาให้เกิดสินค้าและบริการท้องถิ่นนำาไปสู่การท่องเที่ยว
          เชิงวัฒนธรรมที่เอื้อประโยชนเชิงเศรษฐกิจ มีการนำาค่านิยมของท้องถิ่นมาจัดระเบียบทางสังคม
          จัดการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนนำามาใช้แก้ปัญหาด้วยกระบวนการ
          ทางวัฒนธรรมของชุมชน ในทางอ้อม ทุนวัฒนธรรมทำาให้เกิดการรวบรวมองคความรู้ นำาไปสู่
          ความรู้สึกภาคภูมิใจ นำาไปปลูกฝังให้กับคนรุ่นหลังในรูปแบบของการบอกเล่าหรือจัดทำาเป็น
          พิพิธภัณฑชุมชนได้ด้วย (กัญญารัตน แก้วกมล และคณะ, 2564, น.79-80)
             อย่างไรก็ดี ทุนทางวัฒนธรรมส่วนใหญ่เป็นการศึกษาวิจัยในมิติที่ว่า ทุนทางวัฒนธรรม
          เป็นประโยชนหรือนำาไปใช้ในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว แต่ในเชิงความมั่นคง
          ทางสังคมกลับมีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจำากัด โดยงานเหล่านี้เป็นการศึกษาทุนทางวัฒนธรรม
          ที่มีความสัมพันธกับความมั่นคงทางสังคม ดังการศึกษาของ Shorani et al. (2021) ศึกษา



           24
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31