Page 28 - kpiebook67035
P. 28

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          ในชุมชน เมื่อไปผนวกกับเรื่องเศรษฐกิจ ได้ทำาให้เกิดการสร้างเมืองของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
          โดยอาศัยวัฒนธรรมฐานรากของกลุ่มชาติพันธุ และได้ให้ข้อเสนอแนะต่อการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
          ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้เป็นรายได้ให้กับชุมชน คือ การเน้นกำาไรแบบพอประมาณ สร้างสินค้า
          ทางวัฒนธรรมให้เกิดคุณภาพมากกว่าเน้นเชิงปริมาณ สร้างความมั่นใจให้กับวัฒนธรรมของกลุ่ม
          ชาติพันธุท้องถิ่นตนเอง
             เช่นเดียวกันกับอนันต คติยะจันทร และคณะ (2564, น.195-196) ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา
          ทุนวัฒนธรรมของชุมชนพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า จุดแข็งเมืองหนองคายคือ
          มีผู้มีภูมิปัญญาทางความรู้ที่หลากหลาย เช่น ความรู้ด้านเครื่องจักสาน การทำาเครื่องมือทางการเกษตร
          ประมง สมุนไพรพื้นบ้าน ศาสนา ในเชิงกระบวนการสร้างและพัฒนาทุนวัฒนธรรม หนองคาย
          มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย เพราะเป็นเมืองชายแดน
          ซึ่งเป็นเอกลักษณสร้างรายได้แก่ชุมชน อีกทั้งชุมชนมีพื้นฐานชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง มีเครือข่าย
          ทางสังคมที่เด่นชัด ทำาให้เกิดการต่อยอดคุณค่าทางทุนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง


           2.3 แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคม (Social immunity)
             แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคม (social immunity) เป็นแนวคิดในแวดวงสาธารณสุขที่อธิบาย
          ถึงกลไกของร่างกายมนุษยที่จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อต้านเชื้อโรคทั้งภายในและภายนอก
          ร่างกาย ซึ่งแนวคิดนี้ยังถูกนำามาใช้ทำาความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมทั้งในแง่มุมอื่น ๆ ทั้งด้าน
          กฎหมาย เศรษฐศาสตร สังคมศาสตร โดยมองว่าภูมิคุ้มกันทางสังคมคือ ความสามารถของ
          สังคมในการรับมือต่อความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกและการคุกคามที่เป็นผลมาจากการแทรกซึม
          ของคุณค่า บรรทัดฐาน แบบแผนพฤติกรรมของวัฒนธรรมอื่นที่เข้าสู่สังคม และอาจส่งผลต่อ
          ความเป็นกลุ่มก้อนและการปรับตัวของสังคมหนึ่ง ๆ จึงต้องมีการเสริมสร้างกลไกป้องกันสังคม
          เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันในการปกป้องและขัดขวางภัยคุกคามจากภายนอก การปรับตัวของประชาชน
          ต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนการหลวมรวมและรักษาความเป็นหนึ่งเดียวกันของสังคม
          ท่ามกลางบริบทการพัฒนาที่ไม่สมดุล (Julia Myslyakova, 2020) ภูมิคุ้มกันทางสังคมจึงเป็นที่มา
          ของการรักษาเสถียรภาพของกลไกในสังคมและการมีมาตรการที่จำาเป็นเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา
          ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Niklas Luhmann, 2013)
             ขณะเดียวกัน หากมองภูมิคุ้มกันทางสังคมในระดับปัจเจกบุคคล ภูมิคุ้มกันทางสังคมเป็น
          ความสามารถของบุคคล ซึ่งประกอบไปด้วยการสร้างความเข้มแข็งด้านการเรียนรู้ การมีทักษะ
          ชีวิตในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมและวัฒนธรรม การเข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง



           26
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33