Page 21 - kpiebook67035
P. 21

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


                    บทที่ 2 แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง


             การทบทวนแนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 ของโครงการวิจัยนี้ ประกอบด้วย
          แนวคิดความมั่นคงทางสังคม (Social security) แนวคิดทุนทางวัฒนธรรม (Cultural capital)
          แนวคิดภูมิคุ้มกันทางสังคม (Social immunity) แนวคิดคุณภาพสังคม (Social quality) แนวคิด
          ความเป็นพลเมือง (Citizenship) และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้


           2.1 แนวคิดความมั่นคงทางสังคม (Social security)
             ความมั่นคงทางสังคมหมายถึง มาตรวัดความสำาเร็จของเป้าหมายเพื่อการปกป้องความมั่นคง
          ทางสังคม (Burgess & Stern, 1991, p.45) ซึ่ง Dreze & Sen ขยายความต่อไปว่าพื้นฐาน
          แนวคิดความมั่นคงทางสังคมคือใช้วิธีการทางสังคมเพื่อป้องกันภาวะความขาดแคลน/ความไม่มี
          (Deprivation) หรือป้องกันความเปราะบางต่อภาวะของความขาดแคลน ส่วนอะไรคือ “ความ
          ขาดแคลน” ที่ว่านั้น แล้วแต่การให้คุณค่าที่แตกต่างกันซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็นหลายแนวทาง
          (Dreze & Sen, 1991, p.5)
             เพื่อขยายความให้เห็นภาพของความมั่นคงทางสังคมมากขึ้น Dreze and Sen (1991,
          pp.5-9) แบ่งมุมมองของการมองความมั่นคงทางสังคมออกเป็น 4 แนวทาง ได้แก่
             1) ความขาดแคลนเชิงจิตวิสัยกับเชิงวัตถุวิสัย (Subjective versus objective
          deprivation) ความขาดแคลนเชิงจิตวิสัยเป็นการให้คุณค่าของตัวบุคคลที่บ่งบอกสภาวะทาง
          จิตใจ เช่น ความพึงพอใจ ความสุข การเติมเต็มความปรารถนา ฯลฯ เป็นมุมมองที่ถูกนำามา
          ใช้อยู่มากแต่อาจนำาไปสู่การตีความที่ผิดพลาด เพราะไม่ได้สะท้อนถึงความขาดแคลนที่แท้จริง
          เนื่องจากเป็นความรู้สึก คนที่อยู่ในภาวะขาดแคลนอย่างสมบูรณจนมีชีวิตที่ยากลำาบากถึงขั้น
          ยอมรับสภาพ อาจไม่ได้มีความเห็นในเชิงลบด้านจิตใจว่าชีวิตเขาขาดแคลนมาก ทั้งที่พวกเขาไม่มี
          ความสามารถที่จะได้มาซึ่งการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่สะดวกสบาย การศึกษา
          ขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
             2) โภคภัณฑ รายได้ และคุณภาพชีวิต (Commodities, incomes, and quality of life)
          เป็นประเภทของความขาดแคลนที่ไม่ขึ้นอยู่กับจิตวิสัย จึงมีความชัดเจน มีรากฐานอยู่บน
          ความต้องการพื้นฐานของมนุษย ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่พักอาศัย เป็นต้น อย่างไรก็ดี
                          ่
          โภคภัณฑ รายได้ และรำารวยถูกมองเป็นเพียงวิธีการ (Mean) ที่นำาไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี มากกว่า
          ที่จะเป็นส่วนประกอบหนึ่ง (Constituent element) ของความมั่นคงทางสังคม นอกจากนี้



                                                                        19
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26