Page 34 - kpiebook67035
P. 34
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
คนทั่วไปที่ไม่มีสิทธิมีเสียงใด ๆ และจะก้าวข้ามไปสู่ความเป็นพลเมืองได้ ก็ต่อเมื่อได้รับสิทธิ
มีส่วนร่วม และทำาหน้าที่ของตนจนถึงระดับที่เรียกได้ว่าเป็นกำาลังของเมือง จึงจะเรียกว่าเป็น
พลเมือง จากการให้ความหมายและการนำาเสนอตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองหรือประชาชนที่เข้มแข็ง
โดยนพรัตน วงศวิทยาพาณิชย (2553) ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2557) และเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ
ศักดิ์ (2559) คณะผู้วิจัยขอสรุปว่า ประชาชนที่เข้มแข็งก็คือพลเมือง หรือประชาชนที่มีความเป็น
พลเมืองนั่นเอง ข้อความดังกล่าวถือว่าสะท้อนความหมายของความเป็นพลเมืองในแบบตรงตัว
อย่างไรก็ดี ความเป็นพลเมืองมีคุณค่าและความหมายมากกว่านั้น คณะผู้วิจัยขออธิบาย
เพิ่มเติมถึงความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เพราะพลเมืองมีจุดยึดโยง
สำาคัญกับการพัฒนาความเป็นไปของบ้านเมือง ที่เห็นได้ชัดเจนคือการพัฒนานโยบายสาธารณะ
แบบมีส่วนร่วม ซึ่งพลเมืองอยู่ในฐานะหุ้นส่วนทางนโยบาย (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2563,
น.39; Kaur, 2018, p.3) ความเป็นกำาลังสำาคัญของพลเมืองในการพัฒนานโยบายสาธารณะ
นี้สอดคล้องกับ Karkin ที่เห็นว่าพลเมืองจำาเป็นต้องเข้ามาข้องเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ
โดยพลเมืองอาจมีตัวแทนในการร่วมดำาเนินงานและตรวจสอบในแต่ละขั้นตอนของนโยบาย เช่น
การโหวต ประชาพิจารณ การร้องเรียน ฯลฯ (Karkin, 2011, pp.9-13)
การสร้างความเป็นพลเมืองในงานวิจัยนี้ ให้ความสำาคัญกับการสร้างความเกี่ยวพันของ
พลเมืองกับนโยบายสาธารณะตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงระดับท้องถิ่น การมีส่วนร่วมในนโยบาย
สาธารณะจะช่วยเปลี่ยนประชาชนคนธรรมดาให้กลายเป็นกำาลังสำาคัญของบ้านเมืองได้
ด้วยเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ทำาให้คนมีสำานึกและรู้สึกผูกพันกับนโยบายสาธารณะ กระตุ้นให้
คนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการนโยบาย และเข้าใจกระบวนการทำางานของรัฐที่จะตอบสนอง
ต่อความต้องการของพลเมือง สร้างความเป็นเจ้าของของประชาชนตั้งแต่กำาหนดนโยบายจนถึง
นำานโยบายไปปฏิบัติ (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2563, น.50) สำาหรับแนวทางการสร้างความเป็น
พลเมืองจะได้กล่าวถึงในเนื้อหาส่วนต่อไป รวมถึงกรณีตัวอย่างจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.6.1 การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองผ่านกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบ
มีส่วนร่วม
งานศึกษาของถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2563) ในการศึกษาพฤติกรรมความเป็น
พลเมืองสำาหรับสังคมไทยทำาให้ได้ตัวแบบที่สามารถนำาไปใช้เพื่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมือง
และประสิทธิภาพทางการเมืองได้ นั่นคือ ตัวแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
32