Page 38 - kpiebook67035
P. 38
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย
3.1 การดำาเนินงานศึกษา
โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แบ่งเป็นการดำาเนินงานหลัก 3 ส่วน
ได้แก่ ขั้นการกำาหนดกรอบแนวคิดและกระบวนการวิจัย ขั้นการดำาเนินโครงการในพื้นที่ และ
ขั้นวิเคราะหและสังเคราะหข้อมูล ดังนี้
3.1.1 ขั้นการกำาหนดกรอบแนวคิดและกระบวนการวิจัย
1) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจาก
เอกสาร หนังสือ บทความ และงานวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
2) การประสานงานกับพื้นที่ โดยการติดต่อประสานงานไปยังองคกรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงข้อมูลและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำาเนินงานโครงการ
3.1.2 ขั้นการดำาเนินโครงการในพื้นที่
1) การจัดทำาแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม เป็นการค้นหา
ทุนทางวัฒนธรรมและความต้องการของคนในพื้นที่ ผ่านกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม เพื่อนำาไปสู่การวางแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่
2) การจัดทำาข้อเสนอโครงการเพื่อนำาไปสู่การปฏิบัติ เป็นการพิจารณาคัดเลือกประเด็น
จากแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมไปเป็นข้อเสนอโครงการและ
นำาไปสู่การปฏิบัติ โดยชุมชนและองคกรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ร่วมกันจัดทำาข้อเสนอโครงการ
และสถาบันพระปกเกล้าพิจารณาข้อเสนอโครงการและสนับสนุนงบประมาณการขับเคลื่อน
โครงการดังกล่าว
3) การนำาโครงการไปสู่การปฏิบัติ เป็นการดำาเนินโครงการตามแผนการดำาเนินงาน ระยะ
เวลาประมาณ 6 เดือน ซึ่งอาจจะมีการจัดตั้งคณะทำางานเป็นการเฉพาะเพื่อดำาเนินงานให้สำาเร็จ
ลุล่วงตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ยังอาศัยการมีส่วนร่วมจากชุมชน คนในพื้นที่ และองคกรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น
3.1.3 ขั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล
1) การประชุมถอดบทเรียน เป็นการสรุปผลและประเมินผลการดำาเนินงาน โดยวิเคราะห
ถึงข้อจำากัด ข้อควรปรับปรุง ข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อพึงใคร่ครวญหากมีการขยายผลการดำาเนินงาน
ในอนาคต
36