Page 41 - kpiebook67035
P. 41
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
ขั้นตอนที่ 5 ไตร่ตรอง (reflect) ความเห็นพ้องร่วมกันของกลุ่มตามที่ได้ระดมความเห็น
กันไปแล้วและประกาศให้ทราบในที่ประชุมร่วมกัน เพื่อทบทวนและยืนยันผลการระดม
ความเห็นเหล่านี้
การประชุมเชิงปฏิบัติการจะใช้ได้ผลดีที่สุดในสถานการณที่ต้องการคำาตอบอย่างสร้างสรรค
ต่อสถานการณ ประเด็นหรือปัญหา หรือในสถานการณที่ต้องการการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
และการวางแผนเชิงนวัตกรรม เนื่องจากกระบวนการเป็นการดึงเอาพลังงานสร้างสรรคของแต่ละ
บุคคลออกมา แล้วจัดแถวให้พุ่งเป้าไปที่จุดรวมศูนยเดียวกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการทำาตามขั้นตอน
ทีละขั้นของวิธีการข้างต้น เป็นการสร้างแรงจูงใจ นำาความพึงพอใจและเพิ่มความแข็งแกร่ง
ให้กับสมาชิกกลุ่มได้เป็นอย่างดี (Gerry Roxas Foundation, 2551)
จากกระบวนการดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้นำามาปรับใช้กับการดำาเนินโครงการเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย: กรณีศึกษา การใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการ
เสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม ตลอดจนค้นหาปัจจัยทุนทางสังคมและ
แนวทางพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมของเทศบาล ดังนี้
3.4.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่
เทศบาลตำาบลเชียงคาน
การประชุมเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงคเพื่อค้นหาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ และ
เพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน โดยใช้ประเด็น
คำาถาม 8 ข้อ และแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
หนึ่ง การค้นหาทุนทางวัฒนธรรมผ่าน “รูปปลา”
1) หางปลา: สิ่งดี ๆ ที่มีในชุมชนของท่านมีอะไรบ้าง
2) ตัวปลา: สิ่งดี ๆ ที่มีในชุมชนของท่านเหล่านั้นอยู่ที่ใดบ้างในพื้นที่ชุมชนของท่าน
3) หัวปลา: อนาคตที่ท่านอยากเห็นคืออะไร เพื่อเดินหน้าเชียงคานโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม
ที่มี
4) ครีบปลา: เราต้องทำาอย่างไรจึงจะความสำาเร็จ
39