Page 45 - kpiebook67035
P. 45
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
้
ใกล้ ๆ กันได้ อาจเป็นเพราะคนเชียงคานต่อสู้ลำาบากมาด้วยกัน เช่น ในอดีตมีนำาท่วม มีการรบพุ่งกัน
ที่ลาวและหนีมาอยู่เชียงคาน เกิดการสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมา นอกจากนี้ ยังพบว่าคนเชียงคาน
มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวัดหรือศาสนา คนในเชียงคานจะมีคนที่รู้เรื่องวัฒนธรรมหรือพิธีการ
ที่เกี่ยวกับวัด มัคนายกวัด เช่น หมอพราหมณที่ทำาพิธีกรรม (01 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม 2566)
คนเชียงคานยังมีความเข้มแข็งและแสดงออกชัดเจนหากไม่เห็นด้วย ทำาให้สังคมคนเชียงคาน
ค่อนข้างมั่นคงปลอดภัย ยกตัวอย่างที่ผู้ให้สัมภาษณกล่าวว่า เชียงคานเคยมีคนพวกสายมู
มาทำาเป็นคนทรงหน้าวัด แต่งกายไม่สุภาพ ชายแต่งกายเป็นหญิง มาที่วัดและไม่เคารพ ก็จะถูก
บอยคอตจากคนเชียงคาน ถูกขับไล่ไม่ให้มาทำาเรื่องไม่ดีงาม ถือเป็นความมั่นคงทางสังคมอย่างหนึ่ง
ของคนเชียงคาน (01 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม 2566)
2) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (objectified state)ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (objectified state) ได้แก่ ขนมพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง
2)
้
เช่น ข้าวปุ้นนำาแจ่ว ข้าวปุ้นฮ้อน ลาบปลา ตำาส้มเชียงคาน แจ่วหมากกอก เอาะเนื้อวัว ซ่าปลา
ตำาซั่ว ห่อหมกถั่วเน่า เมี่ยงคำา คั่วปลาร้าสมุนไพร ข้าวจี่ ข้าวหัวหงอก ป่นปลา แจ่วบอง ส้มปลาน้อย
รวมถึงหัตถศิลป์หรือสิ่งประดิษฐของชุมชน เช่น เรือไฟบก ผ้าห่มนวมทำาจากฝ้าย กระดาษสร้อยสา
ครกตำาข้าวปุ้น การตัดกระดาษสร้อยสา เป็นต้น ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ การแต่งกาย
ชุมชนบ้านไม้เก่า ถนนคนเดิน วัด แหล่งท่องเที่ยวที่สำาคัญ การแสดงพื้นเมือง การละเล่นพื้นบ้าน
3)
3) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นสถาบัน (institutionalization state)ทุนวัฒนธรรมที่เป็นสถาบัน (institutionalization state) ได้แก่ ประเพณีสำาคัญของ
ชุมชนในแต่ละเดือน หรือประเพณี ฮีต 12 คอง 14 เช่น ประเพณีใส่บาตรข้าวเหนียว ประเพณี
้
ข้าวพันก้อน ประเพณีแห่นำา เป็นต้น สอดคล้องกับข้อค้นพบจากการสัมภาษณที่ว่า วัฒนธรรม
ของคนเชียงคานเรียกว่า ฮีต 12 (tradition) คอง 14 (norm) ซึ่งแตกออกมาเป็นข้อย่อยได้อีก
แต่เชียงคานกับเมืองเลยมีวัฒนธรรมต่างกัน เชียงคานนิยมนำาศพไว้ที่บ้านไม่นิยมนำาไว้ที่วัด
เพราะยึดถือความกตัญญู ไม่มีการกินเหล้าในงานศพ ส่วนที่เมืองเลยหรือแถบอีสานใต้ต่างกัน
เพราะนิยมให้ตั้งศพนานสัก 15 วัน เพื่ออยู่เป็นเพื่อนศพ หรือพื้นที่อื่นมี ฮีต 12 คอง 14 เหมือนกัน
แต่พิธีกรรมอาจจะไม่เหมือนกัน เช่น ทำาบุญหลวง บุญสงกรานต บุญเดือนหก บุญเดือน 7 ที่ทำาบุญ
กับผี เดือน 10 บุญห่อข้าวสาร เพื่อข้าวใหม่เดือน 11 ซึ่งประเพณี 12 เดือน ส่วนใหญ่จะเป็น
้
พิธีกรรมเกี่ยวกับนำา (01 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม 2566)
จะเห็นได้ว่า ทุนทางวัฒนธรรมของเชียงคานมีความหลากหลายและครอบคลุมทั้ง
ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม และทุนวัฒนธรรมที่เป็นสถาบัน
สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของสังคมและวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณของเชียงคาน ที่ฝังอยู่ในตัวชุมชน
43