Page 49 - kpiebook67035
P. 49
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
4.2 การสร้างการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
จากแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมที่ประชาชนในพื้นที่ตำาบล
เชียงคานได้ร่วมดำาเนินการค้นหาทางทุนทางวัฒนธรรมและระดมความคิดเห็นจนนำาไปสู่
การจัดทำาแผนดังกล่าว เทศบาลตำาบลเชียงคานร่วมกับชาวเชียงคาน โดยการสนับสนุนของ
คณะผู้วิจัยสถาบันพระปกเกล้า ได้ร่วมกันนำาไปดำาเนินกิจกรรมจำานวน 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม
การอนุรักษประเพณีวัฒนธรรม และกิจกรรมการสร้างธรรมนูญเชียงคาน รายละเอียดการดำาเนิน
กิจกรรมมีดังต่อไปนี้
4.2.1 การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม
ภาพรวมทั่วไปของกิจกรรม
กิจกรรมการอนุรักษประเพณีวัฒนธรรมเป็นรูปแบบการประกวดแต่งเพลงร้องเพลงที่มี
เนื้อหาวัฒนธรรม มีการจัดขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ณ ลานวัดศรีคุณเมือง อำาเภอ
เชียงคาน จังหวัดเลย มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 110 คน ได้แก่ เยาวชน ครู ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่
เทศบาลตำาบลเชียงคาน คณะวิทยากรจากสถาบันพระปกเกล้า คณะอนุกรรมาธิการการบริหาร
งานบุคคล การกำากับดูแล ตรวจสอบ และการมีส่วนร่วมของประชาชนสำาหรับท้องถิ่นรูปแบบ
ทั่วไป และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
สำาหรับผู้ที่เข้าร่วมการประกวดแต่งเพลงและร้องเพลงเป็นกลุ่มเยาวชนในพื้นที่เทศบาล
ตำาบลเชียงคาน ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ประสานไปยัง 4 โรงเรียนในเทศบาลตำาบลเชียงคานเพื่อให้
เข้าร่วมสมัครใน 2 ช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงอายุ 10-12 ปี กับช่วงอายุ 13-15 ปี ทั้งนี้ มี 2 โรงเรียน
ที่มีความพร้อมในการส่งเยาวชนเข้าร่วมประกวด ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเชียงคาน (เทศบาล 1)
กับโรงเรียนอนุบาลเชียงคาน (ปทุมมาสงเคราะห) รวม 6 ทีม
หลักเกณฑในการตัดสินรวมทั้งสิ้น 100 คะแนน ได้แก่
1) เนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องราววัฒนธรรม เช่น อาหาร สถานที่ ภาษา ผู้คน ฯลฯ (30 คะแนน)
2) ความสร้างสรรค เช่น มีเนื้อหาและทำานองแตกต่าง แปลกใหม่หลากหลาย หรือ
คิดขึ้นมาเองใหม่ทั้งเนื้อหาและทำานอง (20 คะแนน)
3) คุณภาพการแสดง เช่น ลีลาการแสดง การสร้างอารมณร่วม บรรยากาศการแสดง
การแต่งกาย ฯลฯ (20 คะแนน)
4) ความชัดเจนของภาษาและอักขระการใช้คำา (10 คะแนน)
5) จังหวะ/การเรียบเรียงเนื้อหาของเพลง (10 คะแนน)
้
6) ความไพเราะของนำาเสียง/การออกเสียง/การใช้เสียง (10 คะแนน)
47