Page 54 - kpiebook67035
P. 54

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

           4.3 การถอดบทเรียน
             หลังจากได้มีการดำาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการค้นหาทางทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ การจัดทำา
          แผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ตำาบลเชียงคาน การนำาแผน
          ดังกล่าวไปขับเคลื่อนต่อ ซึ่งได้แก่ กิจกรรมการอนุรักษประเพณีวัฒนธรรม และกิจกรรม
          การสร้างธรรมนูญเชียงคาน คณะผู้วิจัยสถาบันพระปกเกล้าได้กลับมายังพื้นที่เทศบาลตำาบล
          เชียงคาน เพื่อถอดบทเรียนหลังการดำาเนินกิจกรรม ระหว่างวันที่ 14-16 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
          ณ เทศบาลตำาบลเชียงคาน ในกลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล กลุ่มภาคประชาชน และกลุ่มครูและ
          ผู้ปกครองที่เข้าร่วมกิจกรรม รวมประมาณ 50 คน โดยมีประเด็นสำาคัญในการถอดบทเรียน
          ได้แก่ ผลของการดำาเนินกิจกรรม ปัจจัยความสำาเร็จ อุปสรรคในการดำาเนินงาน ความคาดหวัง
          ต่อการพัฒนาในอนาคต การปรับใช้กับพื้นที่อื่น และความรู้สึกมั่นคงในพื้นที่ สรุปสาระสำาคัญดังนี้
             4.3.1 ผลของการดำาเนินกิจกรรมที่ส่งผลต่อทุนวัฒนธรรมเชียงคาน
             ผลของการดำาเนินกิจกรรม เป็นข้อคำาถามต่อผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มว่ากิจกรรมต่าง ๆ
          ที่เกิดขึ้นในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม ถือว่าได้สร้างสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างไรบ้าง
          พบว่า กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล กลุ่มครูและผู้ปกครอง และกลุ่มประชาชน
          ทั้งสามกลุ่มเห็นสอดคล้องกันว่า การดำาเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่
          เชียงคานได้ทำาให้เกิด การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชน ทั้งผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน
          คณะครู ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล ผู้ประกอบการ ผู้นำาชุมชน ซึ่งต่างก็มีส่วนร่วมในวาระ
          หรือกิจกรรมที่แตกต่างกัน และเป็นไปตามบทบาทหน้าที่ของตน ตั้งแต่การระดมความคิดเห็น
          การร่วมวางแผนกิจกรรม การประสานงาน การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้น ขณะเดียวกันกิจกรรม
          ของโครงการยังทำาให้เกิด การจุดประกายความคิดสร้างสรรค์การจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ คนต้องการต่อยอดจากทุน
          ทางวัฒนธรรมที่เป็นสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อนำาไปใช้ประโยชนต่อไป เช่น การฟื้นฟูอาหาร
          พื้นบ้านขนมพื้นเมือง การสร้างรายได้ การตั้งชมรมในโรงเรียน การจัดกิจกรรมในชุมชน เป็นต้น
          อีกทั้งกระบวนการของโครงการนี้ ยังทำาให้ชาวเชียงคานที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิด การเรียนรู้และ การเรียนรู้และ
          ได้รับการพัฒนาทักษะ้รับการพัฒนาทักษะ ไปโดยปริยาย โดยเฉพาะความกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น
          ได
          อย่างตรงไปตรงมา รวมไปถึงทักษะการคิดวิเคราะห
             นอกจากนี้ ความคิดเห็นอื่น ๆ เกี่ยวกับผลการดำาเนินกิจกรรมของกลุ่มผู้เข้าร่วมทั้งสามกลุ่ม
          จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล ให้ความเห็นว่า การดำาเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนา
          ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่เชียงคาน นอกจากจะทำาให้เกิดการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ





           52
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59