Page 58 - kpiebook67035
P. 58
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
อยู่แบบต่างทิศทางและคิดแบบต่างคนต่างอยู่ กลับมาให้ความสำาคัญกับทุนวัฒนธรรมในพื้นที่
เพราะผลของการทำากิจกรรมนั้นอาจกระทบต่อวิถีชีวิตและรายได้ของเขา เนื่องจากก่อนหน้านี้
ได้เรียนรู้จากประสบการณที่ผ่านมาของตนเองว่าหากไม่ไปเข้าร่วมในกิจกรรมที่รัฐจัดขึ้น
จะเสียโอกาสทางการพัฒนา ตัวอย่างดังนี้
“...การที่ทำาข้อบัญญัติของเทศบาลด้วยนี้มันเกี่ยวข้องกับวิถีคนเชียงคานทั้งหมด ....
การมีส่วนร่วมถ้าเขาเสียโอกาสตรงนี้ เขาจะไม่ยอม มันก็เลยการเกิดกระบวนการว่าเขาทำาอะไรกัน
น่าสงสัยจังเลย ถ้าฉันไม่ทำาฉันจะเสียสิทธิ์หรือไม่ ก็เลยเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ทำาให้
คนเชียงคานเข้ามามีส่วนร่วม”
4.3.2 ปัจจัยความสำาเร็จ
สำาหรับปัจจัยความสำาเร็จที่พบจากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณเชิงลึกว่าปัจจัย
ความสำาเร็จของการดำาเนินงานนี้จนสำาเร็จได้เกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง และแต่ละท่านได้มีส่วนใน
ความสำาเร็จครั้งนี้อย่างไร พบว่า ทั้งสามกลุ่มเห็นพ้องร่วมกันว่า ปัจจัยที่สำาคัญคือ
หนึ่ง ความตื่นตัวของคนเชียงคานในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรมึ่ง ความตื่นตัวของคนเชียงคานในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรม โดยตระหนัก
หน
ถึงคุณค่าของทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ ทำาให้คนเชียงคานได้กลับมาสำารวจและทบทวน
ตนเองว่า สิ่งดี ๆ ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่อยู่รายล้อม จะฟื้นฟูและอนุรักษทุนทางวัฒนธรรม
เหล่านั้นอย่างไร เพื่อทำาให้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีในเชียงคานสามารถ “กินได้” สอดคล้องกับ
ผู้ให้สัมภาษณที่ว่า ปัจจัยความสำาเร็จคือความร่วมมือของคนในชุมชน ความสามัคคี พร้อมเพรียง
คนที่เข้ามาจากที่อื่นเมื่อมาดูวัฒนธรรมก็เห็นว่าเป็นความสามัคคี แต่เห็นว่าน่าจะเหมือนกัน
ทุกชุมชน คงไม่มีใครไม่ต้องการอนุรักษหรือไม่รักทุนของตัวเอง (02 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม
2566)
สอง การสื่อสารและประชาสัมพันธ์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ให้คนในชุมชนได้รับทราบถึงความสำาคัญของกิจกรรม
สอง
และโครงการที่กำาลังดำาเนินการอยู่ เพื่อสร้างความเข้าใจ ความชัดเจน และดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม
เพิ่มขึ้น
สาม ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งคนในชุมชน เทศบาลตำาบลเชียงคาน คณะครู
สาม
ผู้ปกครอง ที่ให้การสนับสนุนการดำาเนินกิจกรรมตามบทบาทหรือหน้าที่ของตน รวมถึงหน่วยงาน
ภายนอกที่เข้ามาหนุนเสริมการดำาเนินกิจกรรมร่วมด้วย
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมทั้งสามกลุ่มยังมีความเห็นเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่เห็นว่าเป็นปัจจัยความสำาเร็จ
กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล ให้ความเห็นว่า นอกจากความตื่นตัวของคนในชุมชนแล้ว
ปัจจัยความสำาเร็จยังเป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมพัฒนาการใช้ประโยชนจากทุนทางวัฒนธรรม
56