Page 61 - kpiebook67035
P. 61

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


             “บ้านเหนือไม่เข้าประชุม สุดท้ายเสียผลประโยชน์ ทำาไมถนนคนเดินไม่เดินจากบนไปล่าง
          ทั้งที่เป็น one way นี่คือที่ไปที่มา พอวันนี้มีเรื่องธรรมนูญของเชียงคาน เป็นกฎกติกาที่จะดูแล
          คนเชียงคานทั้งหมด ดังนั้น จึงเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อไม่ให้เสียโอกาสอีก”
             4.3.3 อุปสรรคในการดำาเนินงาน
             อุปสรรคในการดำาเนินงาน เป็นข้อคำาถามเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการดำาเนินกิจกรรม
          ต่าง ๆ มีอะไรบ้าง พบว่า
             กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล เห็นว่าปัญหาและอุปสรรคในการดำาเนินกิจกรรม
          ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมคือ ประชาชนไม่เชื่อถือนักการเมืองท้องถิ่น ทำาให้ไม่ได้รับ
          ความร่วมมือจากประชาชนชาวเชียงคาน เนื่องจากโดยปกติคนเชียงคานไม่ค่อยให้ความเชื่อถือ
          ต่อนักการเมืองท้องถิ่น แต่จะให้ความเชื่อถือต่อข้าราชการหรือคนภายนอกมากกว่า ทำาให้
          การดำาเนินงานของเทศบาลอาจจะไม่รับความร่วมมือเท่าที่ควรและประชาชนไม่ให้ความสำาคัญ
             “ทุนของนักการเมืองท้องถิ่นมีน้อย ความเชื่อถือไม่มี ดังนั้นต้องเอาข้าราชการส่วนภูมิภาค
          ผู้ว่าราชการโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
          ขอนแก่น มาเล่าเรื่องสถาปัตยกรรมและทุนทางวัฒนธรรมให้คนในพื้นที่ฟัง”
             รวมไปถึง ความร่วมมือของผู้ประกอบการที่เป็นคนภายนอกชุมชนความร่วมมือของผู้ประกอบการที่เป็นคนภายนอกชุมชน เนื่องจากคนภายนอก
          จะให้ความสำาคัญกับการประกอบอาชีพมากกว่าและไม่มีความผูกพันในเชิงพื้นที่ กิจกรรมของ
          ชุมชนจึงมักจะไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มคนเหล่านี้ ขณะเดียวกัน ความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
          ระหว่างคนเชียงคานและผู้ประกอบการที่เป็นคนภายนอกที่เข้ามาทำาธุรกิจในพื้นที่ยังเป็นปัญหา
          และอุปสรรคอีกประการหนึ่ง กล่าวคือ คนในชุมชนมีวิถีชีวิตที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา และมี
          ความผูกพันต่อถิ่นฐานบ้านเกิดที่ต้องการทำาให้ทุนทางวัฒนธรรมของเชียงคานได้รับการอนุรักษ
          และสืบสานให้ยั่งยืน ขณะที่คนภายนอกไม่ได้ให้ความสำาคัญกับเรื่องเหล่านี้ ทำาให้เกิดความขัดแย้ง
          ระหว่างกันเรื่อยมา
             “คนพื้นที่หรือนอกพื้นเพที่มาจากต่างถิ่น แล้วมาประกอบกิจการ แต่วิถีท้องถิ่นที่เชียงคาน
          ที่มี ถ่ายทอดกันรุ่นสู่รุ่น เป็นวิถีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา เช่น ถ้ามีงานสีดำาหรืองานศพ จะจัดงาน
          ที่บ้าน มีเครือญาติไปร่วมงานกัน แต่ผู้ประกอบการต่างถิ่นที่ไม่รู้ จะโวยวายว่าการจัดงานศพ
          ที่บ้านทำาให้ขายของไม่ได้”
             ประเด็นนี้สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณที่กล่าวว่า คนที่มาขัดกติกาพื้นที่เชียงคานส่วนใหญ่
          คือคนนอก เช่น ขับรถย้อนศร ขับรถเลขตองเข้ามาในพื้นที่ เปิดเครื่องเสียงเสียงดัง หรือตากผ้า
          บริเวณราวถนนคนเดินชายโขง ทั้งที่เป็นที่สาธารณะ ซึ่งต้องมีการปรับปรุงกันเยอะกว่าจะทำาตาม



                                                                        59
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66