Page 65 - kpiebook67035
P. 65

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


             “อยากจะให้ลูกหลานเห็น อยากให้ทำาเป็นกฎหมายท้องถิ่นที่พูดถึงว่าคนเชียงคานต้อง
          ปกป้องเมืองไว้ ไม่เช่นนั้นทุนนิยมจะเข้ามา รุ่นหลานจะต้องมาต่อยอด ถ้าไม่เห็นความสำาคัญ
          หรือตราเป็นกฎหมายท้องถิ่น แต่สุดท้ายคนที่เกิดในเชียงคานก็จะโตและอยู่กับเชียงคาน”
             กลุ่มครูและผู้ปกครอง มีความคาดหวังต่อการพัฒนาในอนาคต ที่จะได้เห็นการต่อยอดจาก
          สิ่งที่ได้ดำาเนินการไปแล้ว เช่น การทำาเพลงให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้นด้วยการทำา MV เพื่อนำาเสนอ
          สิ่งดี ๆ ที่มีอยู่ในเชียงคาน อีกทั้งนำาเพลงที่ใช้ประกวดแข่งขันไปเผยแพร่สู่ภายนอก เช่น เผยแพร่
          ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน เปิดเพลงผ่านเสียงตามสายของชุมชน นำาไปใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ
          ของชุมชน เป็นต้น นอกจากจะสามารถใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ
          การท่องเที่ยว ยังใช้เป็นสื่อที่ทำาให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนได้อย่างน่าสนใจ เช่น ใช้เป็นสื่อ
          ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมของเขียงคานและ
          สร้างจิตสำานึกรักบ้านเกิดได้อีกด้วย
             ขณะเดียวกันยังคาดหวังให้มีแผนการดำาเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดการต่อยอดจากกิจกรรม
          ที่ได้ดำาเนินไปแล้วและได้มีโอกาสนำาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ไปใช้ประโยชนต่อไป เช่น การแข่งขัน
          ประกวดร้องเพลงอย่างต่อเนื่อง ผังการแสดงความสามารถของเด็กและเยาวชนในถนนคนเดิน
          การเปิดกว้างการแข่งขันประกวดร้องเพลงไปยังโรงเรียนอื่น ๆ ที่ไม่ได้สังกัดเทศบาลตำาบลเชียงคาน
          เปิดรับผู้สมัครในรุ่นอายุอื่น ๆ และกลุ่มประชาชนทั่วไป เป็นต้น
             นอกจากนี้ ยังคาดหวังให้มีการเพิ่มเติมเนื้อหาในเทศบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมปัญหา การเพิ่มเติมเนื้อหาในเทศบัญญัติเพื่อให้ครอบคลุมปัญหา
          ความเดือดร้อนของคนในชุมชนมากขึ้นือดร้อนของคนในชุมชนมากขึ้น เช่น ความสะอาดถนนริมโขง ไฟฟ้าส่องสว่าง ความปลอดภัย
          ความเด
          การจัดการปัญหาอาชญากร การจัดการพื้นที่ (zoning) แบ่งระหว่างพื้นที่จำาหน่ายอาหารและ
          การจำาหน่ายของทั่วไปเพื่อทำาให้เป็นสัดส่วน การจัดการแหล่งมั่วสุมของเด็ก เป็นต้น
             กลุ่มประชาชน มีความคาดหวังต่อไปในอนาคตหลังจากที่ได้ดำาเนินกิจกรรมไปแล้ว คาดหวัง
          ที่จะเห็นการนำาไปใช้ประโยชนให้เกิดการทบทวนทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ของตนเองที่นำาไปสู่
          การพัฒนาที่ยั่งยืนและผู้อื่นสามารถมาเรียนรู้ไดัฒนาที่ยั่งยืนและผู้อื่นสามารถมาเรียนรู้ได้ การมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม และมีการสื่อสาร
          การพ
          เพื่อให้คนในชุมชนเห็นประโยชนของการมีส่วนร่วมในทุนวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้น
             ความคาดหวังด้าน การทบทวนตนเองการทบทวนตนเอง พบว่า ทุนวัฒนธรรมเชียงคานมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว
          เพียงแต่คนในพื้นที่อาจเปลี่ยนแนวคิดย้อนกลับมามองตัวเอง และนำาทุนวัฒนธรรมที่ตัวเองมีอยู่
          ว่าจะนำาไปสู่ความเข้มแข็งได้อย่างไร ยกตัวอย่างบ้านเหนือบ้านใต้ยังมีประเพณีร่วมกัน แต่หาก
          ปล่อยให้เงินบังตาก็จะทำาให้ชาวบ้านแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทำาให้ความมีตัวตนมาแทนที่ ดังนั้น





                                                                        63
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70