Page 70 - kpiebook67035
P. 70
การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะตามกรอบการศึกษา
ของโครงการวิจัยนี้ นั่นคือ การใช้ทุนทางวัฒนธรรม (cultural capital) และกิจกรรมในการ
สร้างการมีส่วนร่วม (activity) เพื่อใช้เป็นวัคซีนทางสังคม (social vaccine) ซึ่งมองสังคม
เป็นร่างกายมนุษย เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนทางสังคมจะเกิดการสร้างกลไกป้องกันสังคมขึ้น
เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามต่าง ๆ ซึ่งจะทำาให้เกิดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
(social immunity) และนำาไปสู่ความมั่นคงทางสังคม (social security) ได้ อีกทั้งยังเป็นการ
ตอบวัตถุประสงคการศึกษาในการสร้างการมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม
ด้วยทุนทางวัฒนธรรม อีกทั้งแสวงหาแนวทางการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุน
ทางวัฒนธรรม และปัจจัยเกี่ยวกับทุนทางวัฒนธรรมที่มีประสิทธิผลต่อการเสริมสร้างความมั่นคง
ทางสังคม
5.1 สรุปและอภิปรายผล
สรุปผลการศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นวัคซีนทางสังคม การสร้างการมีส่วนร่วม
ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม และการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
มีสาระสำาคัญดังนี้
5.1.1 การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นวัคซีนทางสังคม
การใช้วัคซีนในทางสาธารณสุขเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถรับมือ
และต่อสู้กับเชื้อโรคหรือไวรัส เพื่อไม่ให้เป็นโรคภัย เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ เช่น วัคซีน
ป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกัน COVID-19 ขณะเดียวกัน “วัคซีนทางสังคม” เป็นการ
มองสังคมเหมือนร่างกายมนุษย โดยเชื่อว่าเมื่อสังคมมีภูมิคุ้มกันก็จะไม่เป็น “โรค” หรือ
รับมือกับภัยคุกคามและปัญหาในสังคมได้ ฉะนั้น ต้องใช้วัคซีนสังคม ซึ่งเกี่ยวพันเชื่อมโยงกับ
สภาพแวดล้อมของคนในสังคมที่ส่งผลต่อเงื่อนไขในการดำารงชีวิตประจำาวัน เช่น นโยบายและ
ระบบเศรษฐกิจ วาระการพัฒนา บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคมและระบบการเมือง
โครงการศึกษาวิจัยนี้จึงใช้ฐานคิดดังกล่าวในการสร้างวัคซีนทางสังคมขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้าง
ภูมิคุ้มกันทางสังคมอันจะนำาไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่กรณีศึกษาหรือ
เทศบาลตำาบลเชียงคาน
68