Page 75 - kpiebook67035
P. 75

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          แต่หากมีการดำาเนินกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถ
          สร้างความมั่นคงทางสังคมที่แท้จริงมากกว่า  อย่างความมั่นคงในเชิงโภคภัณฑ  รายได้  และคุณภาพชีวิต
          กับความมั่นคงเชิงมาตรฐานความเป็นอยู่และความสามารถที่จะได้มาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดี
             ข้อคิดเห็นของคณะผู้วิจัยเช่นนี้ยืนยันได้จากข้อค้นพบจากการถอดบทเรียนภายหลัง
          ดำาเนินกิจกรรม เมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มว่าการดำาเนินกิจกรรม
          ในโครงการวิจัยที่ผ่านมาได้ทำาให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางสังคมมากขึ้นหรือไม่ อย่างไร (เช่น รู้สึก
          ถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพยสิน รู้สึกพึงพอใจในการดำารงชีวิต มั่นใจในการใช้ชีวิต ฯลฯ)
          ดังผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มกล่าวไว้ดังนำาเสนอแล้วในบทที่ 4 ซึ่งคณะผู้วิจัยขอนำามาแสดงไว้
          เฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
             “การมีเทศบัญญัติเพื่อการจัดการความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง จะเป็นเครื่องมือ
          ที่ช่วยปกป้องเมืองเชียงคานต่อไปได้ ...เทศบัญญัติที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและ
          เข้าชื่อเสนอโดยประชาชนนี้จะทำาให้เกิดความมั่นคงทางสังคมในชุมชนได้เมื่อมีการนำาไปใช้จริง
          อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกข้อกำาหนดของชุมชนหรือกฎหมายท้องถิ่นที่มาจาก
          ความเห็นของประชาชนเพื่อรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ของชุมชนในอนาคตได้”
             “…รู้สึกถึงทิศทางที่ดีขึ้น ยกตัวอย่างการท่องเที่ยวที่รู้สึกถึงความมั่นใจ 80% โดยหวังให้
          เชียงคานเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ชาวต่างชาติเข้ามา ทั้งนี้ เชียงคานจำาเป็นต้องได้รับการปรับปรุง
          เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของผู้นำา จึงจะทำาให้ความมั่นคงของชุมชนดียิ่งขึ้น เพราะหากไม่มี
          การพัฒนาปรับปรุงก็ไม่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
             ประเด็นสรุปจากการสนทนากลุ่มดังกล่าวสะท้อนให้เห็นความเชื่อมั่นว่าจะเกิดความมั่นคง
          ทางสังคมขึ้นในอนาคต โดยบทสรุปแรก สะท้อนให้เห็นว่าความมั่นคงทางสังคมในเชิงมาตรฐาน
          ความเป็นอยู่และความสามารถที่จะได้มาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดี เพราะชุมชนมองเห็นว่าตนมีโอกาส
          ที่จะไปสู่สังคมที่สงบเรียบร้อย สามารถจัดการปัญหาตนเองได้ ขณะที่บทสรุปที่สอง สะท้อน
          ให้เห็นว่าชุมชนมองเห็นและมั่นใจในอนาคตเรื่องรายได้จากการท่องเที่ยว
             อย่างไรก็ดี แม้จะมองเห็นอนาคตของความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ แต่คณะผู้วิจัยเห็นว่า
          มีความจำาเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่ที่สอดคล้องกันกับ Dreze & Sen
          (1991, p.10) ที่กล่าวว่า ความมั่นคงทางสังคมมีความจำาเป็นต้องทำาให้เกิดขึ้น เมื่อพบว่าปัญหา
          ทางสังคมมีการขยายวงกว้างและความขาดแคลนยังคงมีอยู่เนื่อง ทำาให้เกิดสภาวะความล้มเหลว
          ต่อความสามารถและความจำาเป็นพื้นฐาน กับประการที่สอง เมื่อมีประเด็นอ่อนไหวจะกระทบ
          ต่อความมั่นคงในสถานะความเป็นอยู่ เช่น ความล้มเหลวทางการเพาะปลูก สงครามกลางเมือง



                                                                        73
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80