Page 80 - kpiebook67035
P. 80

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

             5.3.1 แนวทางสำาหรับเทศบาลตำาบลเชียงคาน
             สำาหรับแนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมพื้นที่เทศบาล
          ตำาบลเชียงคาน แบ่งได้เป็นแนวทางเชิงนโยบาย แนวทางเชิงปฏิบัติ และข้อเสนองานวิจัย
          ในอนาคตสำาหรับการเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน ดังนี้
                5.3.1.1 แนวทางเชิงนโยบายชิงนโยบาย ได้แก่
                5.3.1.1 แนวทางเ
               1) เทศบาลตำาบลเชียงคานร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำาเภอเชียงคาน ควรผลักดันนโยบาย
          และงบประมาณที่ส่งเสริมทุนวัฒนธรรมตามแผนฯ ที่ชาวบ้านกลุ่มสิงหเหนือเสือใต้เสนอไว้
          อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อการปรับปรุงกิจกรรม
          ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณหรือปัจจัยภายนอกที่อาจเข้ามากระทบกับชุมชน ข้อเสนอนี้
          สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณที่ว่า ชุมชนในพื้นที่มีทุกอย่างอยู่แล้ว แต่หากจะพัฒนาต่อยอด
          หน่วยงานอื่นเพียงเข้ามาหนุนเสริม เช่น การทำาประชาสัมพันธ การจัดอีเวนท การจำาหน่วย
          ผลิตภัณฑพื้นเมือง ตลอดจนงบประมาณบางส่วน (02 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม 2566)
               2) เทศบาลตำาบลเชียงคาน และภาคประชาชนผู้ริเริ่มการเข้าชื่อเสนอเทศบัญญัติ
          ควรดำาเนินการต่อในเรื่องการจัดทำาเทศบัญญัติ โดยเพิ่มเติมประเด็นความต้องการที่ได้รับฟัง
          จากปรับปรุงร่าง ฯ และหากร่างฯ ได้รับการประกาศใช้ ก็ควรมีการตั้งคณะทำางานหรือกลไก
          การติดตามเพื่อติดตามผลการบังคับใช้เทศบัญญัติ อันนำาไปสู่การแก้ไขเทศบัญญัติให้มี
          ความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ
                5.3.1.2 แนวทางเ
                5.3.1.2 แนวทางเชิงปฏิบัติชิงปฏิบัติ ได้แก่
               1) เทศบาลตำาบลเชียงคานและประชาชนในพื้นที่ควรมีการตั้งกลุ่มผู้รับผิดชอบจาก
          คนหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มนางรำา ฯลฯ เพื่อเป็นคณะทำางาน ติดตาม
          ประเมิน และทำารายงานเผยแพร่กิจกรรมเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
               2) เทศบาลตำาบลเชียงคานและประชาชนในพื้นที่ควรมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับ
          การจัดตั้งศูนยการเรียนรู้เพื่อเป็นหอจดหมายเหตุของชุมชน เพื่อเป็นสถานที่รวมคณะทำางาน
          บันทึกทุนทางวัฒนธรรมที่พื้นที่มีอยู่ บันทึกเหตุการณสำาคัญที่พื้นที่ดำาเนินการ โดยอาจพิจารณา
          ใช้แหล่งทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่แล้ว เช่น พิพิธภัณฑแก่งคุดคู้ หรือศูนยบริการนักท่องเที่ยว
          บ้านน้อยแก่งคุดคู้ เป็นต้น การจัดตั้งศูนยนี้จะเป็นพื้นที่ทำางานให้กับกลุ่มผู้ที่ทำางานขับเคลื่อน
          ทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ อีกทั้งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานทางประวัติศาสตรวัฒนธรรม
          ของพื้นที่ต่อไปในอนาคต





           78
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85