Page 76 - kpiebook67035
P. 76

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          เป็นต้น คณะผู้วิจัยเห็นว่า แม้พื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคานในช่วงที่ดำาเนินการวิจัยยังไม่ประสบ
          ภาวะความขาดแคลนหรือความมั่นคงทางสังคมมากนัก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิด
          ภาวะไม่มั่นคงทางสังคมได้ เพราะการหารายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยพึ่งพาการท่องเที่ยว
          เป็นหลัก หากมีสถานการณฉุกเฉินที่ทำาให้การท่องเที่ยวหยุดชะงัก เช่น สถานการณระบาดของ
          ไวรัสโควิด 19 ซึ่งทำาให้รายได้และความมั่นคงในคุณภาพชีวิตถูกคลอนแคลน คนในชุมชน
          ไม่สามารถที่จะได้มาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเคย นำาไปสู่ความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย หรือ
          ความไม่มั่นคงทางสังคมนั่นเอง
             นอกจากนี้ การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบล
          เชียงคาน มีอุปสรรคบางประการที่ควรคำานึงถึง ได้แก่ ความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างกัน
          ในพื้นที่ การสื่อสารระหว่างกลุ่มคน และงบประมาณ โดยความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนที่แตกต่างกัน
          ในพื้นที่เป็นอุปสรรคสำาคัญลำาดับแรกเพราะผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม ทั้งสามกลุ่มต่างให้ข้อมูล
          ที่ตรงกันและให้ข้อมูลในเรื่องนี้มาก ดังนำาเสนอในบทที่ 4 ซึ่งปัญหาเรื่องความร่วมมือนำาไปสู่
          การทวีปัญหาเรื่องการสื่อสาร การสื่อสารถือเป็นปัญหาพื้นที่ในการดำาเนินงานของกิจกรรมหรือ
          โครงการต่าง ๆ แต่เมื่อมีปัญหาเรื่องความร่วมมือระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ แล้วยิ่งทำาให้ปัญหา
          การสื่อสารมีมากยิ่งขึ้น เพราะคนที่แตกต่างกันแต่ละกลุ่มย่อมขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
          อยู่แล้ว อาจทำาให้การสื่อสารระหว่างกลุ่มบิดเบือน ผิดพลาด หรือไม่ได้รับข่าวสารการดำาเนิน
          กิจกรรมของโครงการที่เกี่ยวกับการเสริมสร้างความซื่อตรง ขณะที่ปัญหางบประมาณจากผลการ
          ศึกษาเห็นได้ว่าเป็นปัญหาที่ได้รับการกล่าวถึงเฉพาะกลุ่มของภาคประชาชน แต่คณะผู้วิจัยเห็นว่า
          อาจยังมีความเข้าใจที่แตกต่างหรือไม่ตรงกันเรื่องงบประมาณซึ่งภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
          ต้องทำาความเข้าใจให้ตรงกัน ว่าการเสริมสร้างทุนวัฒนธรรมมีงบประมาณหรือไม่เพียงใด เหตุใด
          จึงต้องการความช่วยเหลือจากชุมชน ฯลฯ เพื่อลดปัญหาระหว่างการดำาเนินกิจกรรมส่งเสริมทุน
          วัฒนธรรม ยกตัวอย่างข้อค้นพบที่แสดงให้เห็นปัญหาสำาคัญเฉพาะเรื่องการขาดความร่วมมือ ดังนี้
             “การดำาเนินงาน…อาจจะไม่รับความร่วมมือเท่าที่ควรและประชาชนไม่ให้ความสำาคัญ…”
             “…ความร่วมมือของคนภายนอกที่เข้ามาเป็นผู้ประกอบการในพื้นที่ …คนภายนอกจะ
          ให้ความสำาคัญกับการประกอบอาชีพและไม่มีความผูกพันในเชิงพื้นที่ กิจกรรมของชุมชนจึงมักจะ
          ไม่ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มคนเหล่านี้… มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างคนเชียงคานและ
          ผู้ประกอบการที่เป็นคนภายนอกที่เข้ามาทำาธุรกิจ...ทำาให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันเรื่อยมา”
             “…ชาวบ้านที่บางคนอาจยังไม่เปิดใจ ทำาให้ยังขาดความเสียสละของแต่ละบุคคล หากทุกคน
          เสียสละบ้างก็จะทำาให้ทุกคนอยากทำากิจกรรมที่เป็นของส่วนรวมร่วมกัน…”



           74
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81