Page 78 - kpiebook67035
P. 78

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          การประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ก็มีการสื่อสารที่ชัดเจนให้รับทราบโดยทั่วกันโดยมีหนังสือ
          แจ้งถึงโรงเรียน และมีการพูดคุยทำาความเข้าใจในทุกระดับตั้งแต่เทศบาล โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง
          นักเรียน จึงส่งผลให้เกิดความเข้าใจและมีแนวทางในการดำาเนินงานที่ชัดเจน
             สำาหรับปัจจัยภายใน จากข้อค้นพบเกิดจากการมีปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบทำาให้เกิด
          การเปลี่ยนแปลงแนวคิด พฤติกรรม และการสื่อสาร ปัจจัยภายนอกทำาให้ชุมชนปรับเปลี่ยน
          วิธีคิดหลังจากมีปัจจัยภายนอกเข้ามากระทบ เมื่อความคิดไปทำาให้คนเริ่มตระหนักเห็นความสำาคัญ
          ว่าควรมีการเปลี่ยนแปลง แล้วเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม ความตื่นตัวของคนในชุมชน ที่เกิดจาก
          การมีกิจกรรมกระตุ้น ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงการสื่อสารของคนในชุมชนระหว่างประธานชุมชน
          กับหน่วยงานภาครัฐ ทำาให้เกิดการชักชวนกันของชาวบ้านที่เคยมาแล้วชักชวนต่อเพื่อมาเข้าร่วม
          กระบวนการ ดังตัวอย่างข้อพบว่า
             “กิจกรรมของโครงการทำาให้คนเชียงคานเกิดความตระหนักในทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่
          ในพื้นที่… ทำาให้คนเชียงคานได้สำารวจและทบทวนตนเองว่า จะฟื้นฟูและอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรม
          เหล่านั้นอย่างไร และจะต่อยอดนำาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร…”
             การที่ปัจจัยภายนอกเข้ามาแล้วนำาไปสู่การรวมตัวของคนในชุมชนมากขึ้น อาจทำาให้เกิด
          จุดแข็งของการใช้ทุนวัฒนธรรมที่เสริมต่อความมั่นคงทางสังคม สอดคล้องกับข้อค้นพบของ
          ชวดี โกศล (2561) ที่ศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุเขตพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า
          การรวมตัวของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ ทำาให้เกิดพลังในการต่อรอง การรวมกลุ่มทำาให้ชุมชน
          ได้ใช้ทุนวัฒนธรรมมาต่อยอดในเชิงเศรษฐกิจ เกิดการสร้างรายได้เป็นทั้งอาชีพหลักและ
          อาชีพเสริม
             ปัจจัยภายในคือตัวชุมชนเองนั้น ยังมีลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นพลเมือง ที่ถวิลวดี
          บุรีกุล และคณะ (2563) ทำาการศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมืองของสังคมไทยได้แบ่งพลเมือง
          ออกเป็น 4 ระดับ และกำาหนดให้ระดับ 2 - 4 สะท้อนคุณลักษณะประชาชนที่มีความเป็นพลเมือง
          เข้มแข็ง ได้แก่ ตระหนักรู้ พิจารณาจากที่ประชาชนในเชียงคานให้ความสนใจข่าวสารจึงมา
          ร่วมกิจกรรมที่คณะผู้วิจัยและเทศบาลร่วมกันจัดขึ้น ประชาชนบางส่วนมีความกระตือรือร้น
          โดยพิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรม เห็นได้ว่ามีประชาชนในพื้นที่ที่มีความเป็นพลเมือง
          เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมทุกครั้งและที่สำาคัญที่สุด ประชาชน
          ยังมีความผูกพันต่อการมีส่วนร่วม โดยพิจารณาได้จากข้อมูลจากการสนทนากลุ่มของ
          ภาคประชาชนที่กล่าวว่า เมื่อทางการร้องขอให้จัดทำาการแสดงต้อนรับหน่วยงานต่าง ๆ ชุมชน
          จะช่วยดำาเนินการให้เสมอ แม้จะได้รับเงินค่าช่วยเหลือในการเตรียมงานไม่เพียงพอก็ตาม



           76
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83