Page 81 - kpiebook67035
P. 81
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
5.3.2 แนวทางสำาหรับพื้นที่อื่น ๆ
การดำาเนินโครงการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำาคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
เพื่อร่วมกันเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ จากการศึกษา
วิจัยตลอดโครงการ คณะผู้วิจัยจึงได้พัฒนาตัวแบบเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้าง
ความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมสำาหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่สามารถนำาไปปรับประยุกตใช้
ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ได้ กล่าวคือ
หนึ่ง กระบวนการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่ โดยการค้นหาว่าในพื้นที่มีสิ่งดี ๆ
ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมอะไรบ้าง สิ่งเหล่านั้นอยู่ ณ ที่ใด และสามารถนำาทุนทางวัฒนธรรมที่มี
ไปใช้ประโยชนอะไรได้บ้างเพื่อให้เกิดประโยชนต่อชุมชนในด้านที่พึงปรารถนา แนวทางนี้คณะผู้วิจัย
เห็นสอดคล้องตามที่ผู้ให้สัมภาษณกล่าวว่าควรมีการจัดทำาฐานข้อมูลของแต่ละพื้นที่ แล้วทำาเป็น
big data ที่รวบรวมข้อมูลจากพื้นที่จริง และไม่ถูกบิดเบือน (01 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม
2566)
สอง การจัดทำาแผนการใช้ทุนทางวัฒนธรรม โดยการรวบรวมข้อมูลการค้นหาทุน
ทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่ไปใช้เป็นข้อมูลจัดทำาแผนงาน โดยระบุรายละเอียดถึงกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ต้องการดำาเนินการ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบการดำาเนินงาน รวมไปถึงแหล่งทุนสนับสนุน
สาม การนำาแผนการใช้ทุนทางวัฒนธรรมไปสู่การปฏิบัติจริง ขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่
วางแผนไว้
สี่ การถอดบทเรียนและปรับปรุงแก้ไข โดยการประเมินผลการดำาเนินงานที่เกิดขึ้น ปัจจัย
ความสำาเร็จ ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและข้อจำากัด ตลอดจนข้อเสนอแนะสำาหรับการแก้ไขปรับปรุง
เพื่อการต่อยอดการดำาเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมตามแนวทางนี้มีปัจจัย
ภายในและปัจจัยภายนอกที่ควรคำานึงถึงระหว่างการดำาเนินงาน กล่าวคือ ปัจจัยภายนอก ได้แก่
หน่วยงานภายนอกที่เข้ามาสนับสุน กระแสสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงของ
เทคโนโลยี ขณะที่ปัจจัยภายใน ได้แก่ การสื่อสารภายในชุมชน และที่สำาคัญคือ ความร่วมไม้ร่วมมือ
ของคนในชุมชนเอง
79