Page 79 - kpiebook67035
P. 79
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
นอกจากนี้ ชุมชนมีปัจจัยสำาเร็จที่สำาคัญที่ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มยังไม่ได้สะท้อนออกมา
แต่คณะผู้วิจัยเล็งเห็นคือทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ ซึ่งชุมชนได้แสดงออกมาให้เห็นในขั้นตอนแรก
ของการดำาเนินกิจกรรม พบว่ามีความสอดคล้องกันกับ ณัชชา ศิรินธนาธร (2561, น.1588)
กัญญารัตน แก้วกมล และคนอื่น ๆ (2564, น.79-80) อนันต คติยะจันทร และคนอื่น ๆ (2564,
น.192) โดยทุนวัฒนธรรมที่พบในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน ได้แก่ ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ใน
ตัวบุคคล (embodied form) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (objectified state) และทุนวัฒนธรรม
ที่เป็นสถาบัน (institutionalization state) ซึ่งได้วิเคราะหแล้วในเนื้อหาตอนต้นของบทนี้
ทุนเหล่านี้ ถือว่าเป็นปัจจัยความสำาเร็จที่คนในพื้นที่อาจยังไม่ได้ตระหนักถึง
ปัจจัยภายในด้านทุนวัฒนธรรมของคนเชียงคาน ในด้านที่มีผู้มีภูมิปัญญา มีศิลปะวัฒนธรรม
้
ผสมผสานหลากหลาย อันเนื่องมาจากเป็นพื้นที่ริมนำาโขงซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทยลาว
เป็นลักษณะของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่พบในพื้นที่อื่นของประเทศไทยเช่นกัน
ยกตัวอย่างจากงานวิจัยของอนันต คติยะจันทร และคนอื่น ๆ (2564, น.195-196) ที่ศึกษา
เกี่ยวกับการพัฒนาทุนวัฒนธรรมของชุมชนพื้นที่ชายแดนไทย จังหวัดหนองคาย พบว่า หนองคาย
มีผู้ทรงภูมิปัญญาที่มีความรู้หลากหลาย เรื่องเครื่องจักสาน การทำาเครื่องมือทางการเกษตร
ประมง สมุนไพรพื้นบ้าน ศาสนา ฯลฯ หนองคายยังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม
ภาษา อาหาร การแต่งกาย เพราะเป็นเมืองชายแดน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณของชุมชนและนำาไปสู่
การสร้างรายได้แก่ชุมชนด้วยทุนวัฒนธรรมที่มีอยู่
คณะผู้วิจัยวิเคราะหต่อว่า ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำาเร็จในการใช้ทุนวัฒนธรรมจะ
นำาไปสู่ความมั่นคงทางสังคมได้ ตามกรอบคุณภาพสังคม (สุรสิทธิ์ วชิรขจร, 2553) ที่ว่า คุณภาพ
สังคมจะดีได้ด้วยการที่สมาชิกทุกคนได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกัน (social inclusion)
ผู้คนอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีความสมานฉันท (social cohesion) และมีการเสริมพลัง (social
empowerment) เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มที่ ซึ่งการไปให้ถึงกรอบคุณภาพสังคม
ต้องการปัจจัยภายนอก อย่างการกระตุ้นจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาดำาเนินกิจกรรม
โดยยึดถือปัจจัยภายในของชุมชนเป็นหลัก
5.3 แนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
แนวทางเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรมเป็นข้อเสนอแนะจาก
คณะผู้วิจัย แบ่งได้เป็นแนวทางสำาหรับเทศบาลตำาบลเชียงคาน และแนวทางสำาหรับพื้นที่อื่น
เพื่อนำาไปประยุกตใช้ และข้อเสนองานวิจัยในอนาคต ดังเนื้อหาต่อไปนี้
77