Page 74 - kpiebook67035
P. 74

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน























             5.1.4 ความมั่นคงทางสังคมของชุมชนพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
             จากผลการศึกษาที่คณะผู้วิจัยได้ดำาเนินการถอดบทเรียนภายหลังดำาเนินกิจกรรม สรุปได้ว่า
          ความรู้สึกมั่นคงทางสังคมของคนในพื้นที่มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนมากนัก เนื่องจาก
          ความมั่นคงทางสังคมเป็นเป้าหมายปลายทางที่อาจต้องการการวัดผลในระยะยาว ขณะที่กิจกรรม
          และการดำาเนินโครงการวิจัยที่เกิดขึ้นยังดำาเนินการไปได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ดัง
          เช่นความเห็นจากกลุ่มครูและผู้ปกครองที่กล่าวว่า ความรู้สึกถึงความมั่นคงทางสังคมที่เกิดขึ้น
          หลังการดำาเนินโครงการวิจัยยังไม่รู้สึกว่ามีมากนัก แต่มีความรู้สึกว่าการดำาเนินโครงการจะพา
          ชุมชนไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกันกับความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจาก
          กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล กับกลุ่มประชาชน ที่เห็นว่าหลังจากการดำาเนินโครงการแล้ว
          ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นของการออกแบบ ทำาให้เห็นทิศทางที่ดีขึ้นและ
          มีความมั่นใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่เชียงคานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การมี
          เทศบัญญัติที่จะทำาให้ชุมชนรู้สึกถึงความมั่นคงทางสังคมมากขึ้น เพราะเป็นการกำาหนดกฎระเบียบ
          สังคมที่ทำาให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวรู้สึกปลอดภัย สบายใจ
             ความรู้สึกมั่นคงทางสังคมนี้เป็นไปตามมุมมองที่อ้างถึงความมั่นคงทางสังคมเชิงจิตวิสัย
          ที่อาจจะไม่ใช่ความมั่นคงทางสังคมที่แท้จริงเพราะเป็นการวัดความรู้สึก เช่น ความพึงพอใจ
          ความสุข การเติมเต็มความต้องการ ฯลฯ (Dreze and Sen, 1991, pp.5-9) อย่างไรก็ดี
          แม้การตรวจสอบว่าโครงการวิจัยนี้สามารถวัดผลได้เพียงระดับความรู้สึกของผู้เข้าร่วมโครงการ





           72
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79