Page 71 - kpiebook67035
P. 71
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
จากกระบวนการค้นหาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ผ่านกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน จนนำาไปสู่การจัดทำา
แผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน เพื่อให้
ความสำาเร็จเกิดขึ้นได้จริงตามนั้นจึงได้กำาหนดวาระของพื้นที่เป็น “สัญญาใจไทเชียงคาน” โดย
สัญญาใจไทเชียงคานเปรียบเทียบได้เหมือนกับวัคซีนทางสังคม และเชื่อว่าจะทำาให้เชียงคาน
มีภูมิคุ้มกันทางสังคมและป้องกันเชียงคานจากภัยคุกคามได้ วัคซีนทางสังคมจึงประกอบขึ้น
จากทุนทางวัฒนธรรมที่มีในเชียงคาน และการดำาเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
ทุนทางวัฒนธรรมที่มีในพื้นที่เชียงคาน หากจำาแนกประเภททุนทางวัฒนธรรมเหล่านั้นเป็น
ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล (embodied form) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม (objectified
state) และทุนวัฒนธรรมที่เป็นสถาบัน (institutionalization state) พบว่าทุนทางวัฒนธรรม
ในพื้นที่เชียงคานสรุปได้ดังนี้
1) ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล ได้แก่ ศักยภาพของคนเชียงคาน อุปนิสัยของคนเชียงคาน
้
ที่มีนำาใจ เอื้ออาทร รักบ้านเกิด และยิ้มสวย ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของคนเชียงคาน รวมถึง
การพูดภาษาถิ่นไท-เชียงคานที่เป็นเอกลักษณเฉพาะ
้
2) ทุนวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ ขนมพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง เช่น ข้าวปุ้นนำาแจ่ว
ข้าวปุ้นฮ้อน ลาบปลา ตำาส้มเชียงคาน แจ่วหมากกอก เอาะเนื้อวัว ซ่าปลา ตำาซั่ว ห่อหมกถั่วเน่า
เมี่ยงคำา คั่วปลาร้าสมุนไพร ข้าวจี่ ข้าวหัวหงอก ป่นปลา แจ่วบอง ส้มปลาน้อย รวมถึงหัตถศิลป์
หรือสิ่งประดิษฐของชุมชน เช่น เรือไฟบก ผ้าห่มนวมทำาจากฝ้าย กระดาษสร้อยสา ครกตำาข้าวปุ้น
การตัดกระดาษสร้อยสา เป็นต้น ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติ การแต่งกาย ชุมชนบ้านไม้เก่า
ถนนคนเดิน วัด แหล่งท่องเที่ยวที่สำาคัญ การแสดงพื้นเมือง การละเล่นพื้นบ้าน
69