Page 66 - kpiebook67035
P. 66

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          ชุมชนอาจต้องถอดรื้อให้ตัวเองมีความเข้มแข็งให้เชียงคานกลับมาเหมือนเดิมมีความสุข เป็นพี่
          เป็นน้องกันเหมือนเดิม เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำาให้พื้นที่มีรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนและคนอื่น
          สามารถมาเรียนรู้ได้
             ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มบางส่วนยังคาดหวังการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมการมีส่วนร่วมที่เท่าเทียมเพราะหากมีส่วนร่วม
          แล้วไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ก็ไม่ต้องการที่จะมีส่วนร่วมอีก ทั้งที่แต่เดิมชุมชนทำางานได้
          โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ ชุมชนก็มีส่วนร่วมของตนเองได้ในเรื่องทุนวัฒนธรรม แต่พอมีเรื่อง
          ของงบประมาณเข้ามาทำาให้การมีส่วนร่วมหายไป ดังนั้น เมื่อมีเรื่องของงบประมาณเข้ามา
          อาจต้องคำานึงถึงเรื่องการจัดสรรเพื่อให้คนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมด้วย นอกจากนี้ มีผู้เข้าร่วม
          การสนทนากลุ่มเสนอเรื่องการประชาสัมพันธให้เห็นถึงประโยชนของการเข้าร่วมกิจกรรม
          หากจะมีการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป เช่น เทศบาลประกาศเมื่อมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำาเนิน
          กิจกรรม หรือทำากระบวนการรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ชาวบ้านรับทราบว่าหากไม่เข้าร่วม
          จะเสียประโยชนอะไรบ้าง
             4.3.5 การปรับใช้กับพื้นที่อื่น
             การปรับใช้กับพื้นที่อื่น เป็นข้อคำาถามว่ากระบวนการ/ วิธีการ/ เรื่องที่ควรมีการปรับปรุง
          หากจะนำาแนวทางนี้ไปใช้กับพื้นที่อื่น หรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเป็นอย่างไร ตลอดจนการแนะนำา
          หากพื้นที่อื่นสนใจในการพัฒนาทุนวัฒนธรรมของตนเองจะทำาเช่นไร และการรวมเอาภาคส่วนอื่น
          ที่มาเกี่ยวข้องควรมีใครมาเข้าร่วมอีกบ้าง พบว่า
             กลุ่มผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาล มีความเห็นว่า เชียงคานสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบ
          ที่ท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น ๆ สามารถมาศึกษาเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนจากการใช้มาตรการ
          ทางสังคมไปเป็นกฎหมายท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษและสืบสานทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน
          อย่างยั่งยืน หรือเพื่อจัดการกับประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชน โดยใช้ช่องทางใหม่ ๆ
          ทางด้านกฎหมายที่รัฐธรรมนูญกำาหนดไว้ หากพื้นที่อื่น ๆ ต้องการดำาเนินกิจกรรมในลักษณะ
          เดียวกันนี้ สิ่งสำาคัญที่พึงพิจารณาคือ ประเด็นปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชนมีความประเด็นปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชนมีความ
          แตกต่างกัน รวมทั้งความเห็นพ้องร่วมกันของคนในชุมชนต่อประเด็นเหล่านั้น อีกทั้งบางพื้นที่
          แตกต่างกัน
          อาจมีภาคประชาชนที่ให้ความสำาคัญกับประเด็นสาธารณะ ขณะที่บางพื้นที่อาจไม่มีการมีส่วนร่วม
          ของภาคประชาชนเท่าที่ควร การขับเคลื่อนกิจกรรมจึงขึ้นอยู่กับระดับการมีส่วนร่วมของคน
          ในชุมชนนั้น ๆ ด้วย “ประชาชนเชียงคานได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมาก แต่ถ้าเป็นพื้นที่อื่น ไม่มั่นใจ
          เพราะบางครั้งการรับรู้การมีส่วนร่วมอาจจะน้อยกว่า จึงเป็นเรื่องของแต่ละพื้นที่ เพราะว่า
          ท้องถิ่นแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน”



           64
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71