Page 63 - kpiebook67035
P. 63

สถาบันพระปกเกล้า
                                                          King Prajadhipok’s Institute


          ขาดการฟังเสียงประชาชนอย่างแท้จริง ทำาให้สิ่งที่มาดำาเนินการนั้นกลายเป็นอนุสาวรียไม่มี
          การสานต่อ ดังนั้น ส่วนราชการระดับสูงกว่าควรเป็นหน่วยงานพี่เลี้ยงคอยหนุนเสริมให้ชาวบ้าน
          เดินไปด้วยกัน ซึ่งจะทำาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งได้มากกว่า อุปสรรคในเชิงหน่วยงานนี้ยังพบว่า
          มีความแตกกระจายของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามาดำาเนินงานเรื่องทุนวัฒนธรรมความแตกกระจายของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้ามาดำาเนินงานเรื่องทุนวัฒนธรรม เช่น เทศบาล
          อำาเภอ โรงเรียน ชุมชน ยังมีลักษณะต่างคนต่างทำาอยู่
             นอกเหนือจากการถูกละเลยในการให้ความสำาคัญกับศักยภาพของคนในพื้นที่แล้ว ยังมี
          อุปสรรคเรื่องอัตตาของชาวบ้านที่บางคนอาจยังไม่เปิดใจไม่เปิดใจ ทำาให้ยังขาดความเสียสละขาดความเสียสละของแต่ละ
          บุคคล หากทุกคนเสียสละบ้างก็จะทำาให้ทุกคนอยากทำากิจกรรมที่เป็นของส่วนรวมร่วมกัน
          อุปสรรคนี้เป็นไปได้ว่าเกิดจากการยึดระบบเงินเป็นหลัก เพราะเมื่อการท่องเที่ยวเข้ามา ทำาให้
          ชาวบ้านไม่มีส่วนร่วมเนื่องจากคิดว่าการท่องเที่ยวสามารถทำาให้อยู่รอดได้แล้วจึงละเลย
          ความเป็นอันหนึ่งใจเดียวกัน
             “สิ่งสำาคัญคือมันมีอัตตาเยอะ บางทีก็อยู่ในสถานะเงินบังตาชาวบ้าน ชาวบ้านอาจจะคิดว่า
          ฉันมีเงินมีรายได้ฉันอยู่ได้ มันก็เลยเกิดอัตตาว่าไม่จำาเป็นต้องไปขึ้นอยู่กับคนอื่น อีกส่วนหนึ่งคือ
          ท่องเที่ยวมาเงินก็มา อะไรก็มา นี่คือสภาวะเงินบังตาลืมไปหมดเลยว่า ชุมชนเราอยู่อย่างไร วันหนึ่ง
          ถ้าคนไม่มาเที่ยวเงินออกจากไปเมื่อไหร่ จึงจะมองหากัน ตอนนี้มันยังอยู่ แต่ถ้ามันออกไปแล้ว
          เขาสร้างความโดดเด่นที่แตกต่างได้เหนือกว่าพวกเรา แต่เรายังไม่รักษา ตรงนี้สำาคัญต้องสร้าง
          การเรียนรู้และความเข้าใจในชุมชน”
             ข้อค้นพบที่ว่าคนในพื้นที่บางส่วนอาจมีอัตตาหรือเห็นช่องทางผลประโยชน จนหลงลืม
          ตัวตน สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณที่ย้อนภาพเหตุการณในอดีตว่า มนุษยมีความคิดความเชื่อ
          ไม่เหมือนกัน ทำาให้เป็นอุปสรรคในการพัฒนา เช่น คนในเชียงคานในอดีต เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว
          มีเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยว ว่าคนเชียงคานได้รับเงินท่องเที่ยวมาแล้ว 600 พอได้รับ 800
          กลับเปลี่ยนใจแล้วไปรับที่เงินมากกว่า ทำาให้ผู้ว่าราชการต้องลงพื้นที่ไปรวมกลุ่มต่าง ๆ เช่น ชาวบ้าน
          กลุ่มผู้ประกอบการ มากำาหนดกติการ่วมกัน หรือเรื่องอาหารที่ให้มีการติดป้ายราคาให้ชัดเจน
          (01 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม 2566) ซึ่งอุปสรรคด้านผลประโยชนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต อาจจะ
          เกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ในพื้นที่เชียงคานก็ได้
             นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรคทางงบประมาณงบประมาณในการสนับสนุนชาวบ้านที่ร่วมกิจกรรมซึ่งบางครั้ง
          ชาวบ้านเองต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็นจำานวนมาก หากมีงบประมาณสนับสนุนที่เหมาะสม
          ตามสมควรจะทำาให้การมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมดีขึ้น





                                                                        61
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68