Page 59 - kpiebook67035
P. 59
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
ของเชียงคานมีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงโดยตรงกับวิถีชีวิตชุมชนและการประกอบอาชีพของ
คนในพื้นที่ จึงทำาให้การดำาเนินกิจกรรมนี้ อาจทำาให้มีคนได้ประโยชนหรือเสียประโยชนได้
ซึ่งจะเห็นได้จากคนที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากกิจกรรมของโครงการก็จะไม่ให้ความสนใจเข้าร่วม
ดำาเนินการ “คนที่เห็นว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งผลกระทบถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ รายได้ เขาก็จะ
กระตือรือร้นเอาใจใส่มากขึ้น เขาก็จะเห็นความสำาคัญ ส่วนคนที่ไม่ได้อะไรก็จะเฉยๆ”
กลุ่มครูและผู้ปกครอง ปัจจัยความสำาเร็จที่สำาคัญในทัศนะของกลุ่มครูและผู้ปกครองคือ
การสนับสนุนการดำาเนินกิจกรรมตามบทบาทหรือหน้าที่ของตนหรือหน่วยงาน จะเห็นได้จาก
กิจกรรมประกวดแต่งเพลง นักเรียนที่เข้าแข่งขันได้มีส่วนร่วมกับครูและเพื่อนนักเรียนในการ
แต่งเนื้อเพลง เสริมเนื้อหาของเนื้อเพลง เช่น ภาษาถิ่น เรื่องราวของเชียงคาน เป็นต้น ขณะที่
ครูที่รับผิดชอบดูแลนักเรียนที่เข้าแข่งขันก็ได้มีการแบ่งหน้าที่กันทำางานระหว่างครูด้วยกัน และ
ที่สำาคัญคือ ผู้ปกครองของนักเรียนที่ให้การสนับสนุน ทั้งที่อยู่ในช่วงปิดภาคเรียน และมีบ้าน
อยู่ไกลจากโรงเรียน ขณะเดียวกัน ปัจจัยความสำาเร็จอีกประการหนึ่งคือ การที่เชียงคานมีทุนการที่เชียงคานมีทุน
ทางว
ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น ชุมชนบ้านไม้เก่า ประเพณี ศิลปะดนตรี ด้านอาหารพื้นบ้าน
ประวัติศาสตรเมือง เป็นต้น ทำาให้สามารถนำาไปใช้ประโยชนได้ในหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้น
คือ การร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านบทเพลงได้อย่างน่าสนใจ
กลุ่มประชาชน ให้ความเห็นว่า ปัจจัยความสำาเร็จอาจแบ่งได้เป็นปัจจัยภายนอกและ
ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกที่พบเป็นกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกในเชิงเทคโนโลยีการ
สื่อสารที่รวดเร็ว การมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาให้การสนับสนุนที่แสดงว่าเห็นความสำาคัญต่อ
ทุนวัฒนธรรมในพื้นที่ และมีการติดตามการดำาเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยภายในของ
ชุมชนเองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนวิธีคิด การสื่อสารของคนในชุมชน และการมีส่วนร่วม
คนในพื้นที่เพราะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวเชียงคาน
ปัจจัยภายนอกที่พบและส่งผลให้กิจกรรมในงานวิจัยนี้ประสบความสำาเร็จที่สำาคัญคือ
กระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ชาวบ้านประสบเองระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ชาวบ้านประสบเอง ยกตัวอย่างเช่น การสื่อสารในยุคดิจิทัล
ก
ที่หากไม่ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะทำาให้เสียโอกาสไป เพราะกระแส
การท่องเที่ยวมีมาใหม่อยู่ตลอด หากชาวเชียงคานไม่ปรับตัวแล้วนักท่องเที่ยวอาจจะหันเห
ไปที่อื่น ดังนี้
“ถ้าชาวบ้านยังคิดแบบเก่าว่าไม่มีการรวมกลุ่ม ไม่มีการดึงเอาชุมชนของตนเองให้อยู่
แน่นอนว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและนักท่องเที่ยวอาจจะย้ายไปเที่ยวที่อื่นก็ได้”
57