Page 56 - kpiebook67035
P. 56

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

             นอกจากนี้ การสร้างธรรมนูญเชียงคานผ่านการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น เป็นกระบวน
          การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเสนอประเด็นกฎหมายโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเสนอประเด็นกฎหมาย
          ท
          ท้องถิ่นและความต้องการของชุมชน้องถิ่นและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการจัดระเบียบเมืองและ
          เตรียมพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวต่อไปได้
             กลุ่มประชาชน ให้ความเห็นว่า พื้นที่เชียงคานมีทุนวัฒนธรรมและสิ่งดีในชุมชนอยู่แล้ว
          เมื่อมีกระบวนการตามงานวิจัยนี้เข้าไป ได้ทำาให้คนในพื้นที่มีความรู้ในส่วนของความมั่นคงและ
          กระบวนการมีส่วนร่วม ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดความต้องการมีส่วนร่วมมากขึ้นในทุนวัฒนธรรม
          ของตนเอง และนำาไปสู่ความต้องการการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ดังนี้
             ในส่วนของรูปแบบกิจกรรมนั้น ได้ทำาให้เกิดการเรียนรู้จากแนวคิดและกระบวนการมีส่วนร่วม
          แบบใหม่  พบว่า  ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีการสืบสานงานวัฒนธรรมตนเองมาแล้ว  คนในพื้นที่เชียงคาน
          มีความพร้อม มีทุนวัฒนธรรมที่หลากหลายและมีพัฒนาการเรื่อยมา ยกตัวอย่าง การตักบาตร
          ข้าวเหนียวที่เดิมมีเพียงการตักบาตรข้าวเหนียวเท่านั้น ก็มีการพัฒนาให้ใส่อาหารอื่นเพิ่มไปด้วย
          ดังตัวอย่างต่อไปนี้
             “การใส่บาตรข้าวเหนียวที่ทำามา ก็จะเกิดคำาถามจากนักท่องเที่ยวที่ถามว่า พระฉันอะไร
          เราใส่แต่ข้าวเหนียว นี่คือการเปลี่ยนแปลงของชุมชนของทุกชุมชน”
             อย่างไรก็ตาม กระบวนการวิจัยนี้ได้ทำาให้ชุมชนได้ความรู้จากกระบวนการและทำาให้เรียนรู้
          หลายอย่างจากกิจกรรมที่ให้มีการแสดงความคิดเห็น ทำาให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้สะท้อน
          ความคิดเห็นและเห็นถึงมุมมองผู้อื่นที่อาจจะมีความคิดเห็นต่างกัน ทำาให้ชาวบ้านได้ทบทวน ได้ทบทวน
          ต
          ตนเอง ได้ย้อนกลับมาดูตนเองว่ามีทุนวัฒนธรรมอะไรบ้าง นเอง ได้ย้อนกลับมาดูตนเองว่ามีทุนวัฒนธรรมอะไรบ้าง ถือเป็นการเข้าไปสนับสนุนและยืนยัน
          ว่าเชียงคานเป็นพื้นที่ที่มีทุนวัฒนธรรมที่ดี
             “สถาบันพระปกเกล้ามาเปิดชุดความคิดให้พวกเรา มาย้อนความคิดว่าจากที่พวกเรา
          เดินมาถึงทุกวันนี้ ชาวบ้านเราทำากันมามากแล้ว จนดังมาแล้ว ลองกลับมาถามตนเองก่อนว่า
          เราจะเดินอย่างไร เรามาถอดความคิด หรือแนวคิดเก่า ๆ ว่าเราจะอยู่ร่วมกันกับทุนวัฒนธรรม
          อย่างไร เรายังกลมเกลียวเหมือนในอดีตหรือไม่ เชียงคานจะเดินต่ออย่างไร”
             สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นประการที่สอง คือ คนในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรม ต้องการ คนในพื้นที่เกิดการเปลี่ยนแนวคิดและพฤติกรรม ต้องการ
          ท
          ที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้นและมีคนใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีส่วนร่วมได้เข้ามาี่จะมีส่วนร่วมมากขึ้นและมีคนใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีส่วนร่วมได้เข้ามา โดยพบว่า คนในพื้นที่จะ
          รู้สึกตื่นตัวเมื่อหน่วยงานภายนอกเข้ามาร่วมทำากิจกรรมกับชุมชน ยกตัวอย่างคณะผู้วิจัยเข้าไป
          ดำาเนินกระบวนการ ชาวบ้านบางคนเห็นว่ามีหน่วยงานภายนอกเข้ามาก็แสดงความสนใจ





           54
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61