Page 51 - kpiebook67035
P. 51
สถาบันพระปกเกล้า
King Prajadhipok’s Institute
มีการประสานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างทีมงานของเทศบาล โรงเรียนในพื้นที่ และ
คณะผู้วิจัย
5) จริยธรรมการวิจัยในมนุษยมีข้อกำาหนดให้ต้องมีการชดเชยให้กับผู้เข้าร่วมกระบวนการ
วิจัย เช่น ค่าเดินทางมาเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งตอบจริยธรรมการวิจัยในมนุษยแต่อาจไม่สอดคล้องกับ
กระบวนการการมีส่วนร่วม ที่ภาคประชาชนบางส่วนนอกเหนือจากจำานวนที่กำาหนดอาจต้องการ
เข้าร่วมกระบวนการ แต่ไม่ได้รับค่าเดินทางและอาหาร เพราะมีข้อจำากัดทางงบประมาณ
4.2.2 ธรรมนูญเชียงคาน
กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ตำาบล
เชียงคานที่ได้มีการนำาไปขับเคลื่อนต่อคือ การสร้างธรรมนูญเชียงคาน ซึ่งต้องการให้เกิด
การจัดระเบียบเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ควบคู่ไปกับการอนุรักษสืบสานวัฒนธรรมประเพณี
ของเชียงคาน โดยใช้เครื่องมือทางกฎหมาย นั่นคือ การจัดทำาข้อบัญญัติท้องถิ่น โดยการเข้าชื่อ
เสนอของประชาชนในพื้นที่ตามพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ.2565
ให้เป็นกติกาของชุมชนที่เป็นทางการที่ชาวเชียงคานร่วมกันกำาหนดขึ้นมา ซึ่งการจัดทำาข้อบัญญัติ
ท้องถิ่นตามแนวทางของพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 นี้ จะเป็น
การสะท้อนความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นโดยตรง ที่อาจไม่มีกฎหมายหรือกฎระเบียบ
รับรอง หรือกฎหมายที่มีอยู่อาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในท้องถิ่น ขณะเดียวกัน
ยังเป็นการส่งเสริมประชาชนให้มีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่นของตนอีกด้วย
ทั้งนี้ กิจกรรมการสร้างธรรมนูญเชียงคานนี้ เป็นการดำาเนินควบคู่ไปกับโครงการเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งด้านสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมและกฎหมายแก่ภาคประชาชน: การเข้าชื่อเสนอ
ข้อบัญญัติท้องถิ่นของเทศบาลตำาบลเชียงคาน ในรายงานนี้จึงเป็นเพียงการกล่าวถึงเฉพาะสาระ
สำาคัญที่เกี่ยวข้องเท่านั้น (รายละเอียดของกระบวนการจัดทำาข้อบัญญัติท้องถิ่น สามารถดู
เพิ่มเติมได้จากโครงการศึกษาวิจัยดังกล่าว)
กระบวนการสร้างธรรมนูญเชียงคานผ่านกระบวนการริเริ่มข้อบัญญัติท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
1) เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ) เวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อรวบรวมประเด็นปัญหาและความต้องการ
1
ของประชาชนที่เล็งเห็นว่าควรผลักดันให้กำาหนดเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่นของเทศบาลตำาบล
เชียงคานต่อไป ซึ่งผลที่ได้จากเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ชี้ให้เห็นว่า คนเชียงคาน
ล้วนตระหนักในความสำาคัญของเอกลักษณเฉพาะถิ่นของเชียงคานที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม
ในพื้นที่ควรรักษาและส่งต่อให้ลูกหลานสืบทอดต่อไป อีกทั้งสิ่งเหล่านี้ยังสามารถดึงดูดคนภายนอก
ให้เข้ามาเยือนเมืองเชียงคาน ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสภาพเศรษฐกิจของชุมชน ฉะนั้น เชียงคาน
49