Page 44 - kpiebook67035
P. 44

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

                               บทที่ 4 ผลการศึกษา


           4.1 การค้นหาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน
             ภาพรวมทั่วไปของกิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาทุน
          ทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตยที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2565
          เวลา 14.00-17.00 น. ณ ที่ทำาการศูนยข้อมูลเมืองเชียงคาน เทศบาลตำาบลเชียงคาน โดยมี
          คณะวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าเป็นวิทยากรกระบวนการ และมีผู้เข้าร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ
          ในตำาบลเชียงคาน จำานวน 70 คน ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชน ประธาน
          สภาชุมชน ผู้นำาชุมชน กำานัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้สูงอายุ ครู ข้าราชการ เยาวชน ผู้ประกอบการ
          และเจ้าหน้าที่เทศบาลตำาบล ในการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อค้นหาทุน
          ทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ และเพื่อร่วมกันวางแผนพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่เทศบาล
          ตำาบลเชียงคานต่อไป
             กระบวนการดำาเนินกิจกรรม กิจกรรมครั้งนี้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
          กลุ่มบ้านเหนือหรือสิงห์เหนือ และ กลุ่มบ้านใต้หรือเสือใต้ ซึ่งเป็นการแบ่งกลุ่มตามลักษณะ
          ตำาแหน่งที่ตั้งของชุมชนที่มีมาแต่เดิม  โดยให้ผู้เข้าร่วมแต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความเห็นภายในกลุ่ม
          ในประเด็นต่อไปนี้ ได้แก่ 1) สิ่งดี ๆ ของท่านมีอะไรบ้าง 2) สิ่งดี ๆ ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมเหล่านั้น
          อยู่ที่ใดบ้างในพื้นที่/ชุมชนของท่าน 3) อนาคตของเชียงคานที่ท่านอยากเห็นโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม
          ที่มี คืออะไร 4) เราต้องทำาอะไรบ้างเพื่อให้สำาเร็จตามนั้น และหลังจากนั้นเป็นการจัดทำาแผน
          เพื่อพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมและการขับเคลื่อนสู่ความสำาเร็จ
             ผลการระดมความเห็น สรุปสาระสำาคัญได้ดังนี้
             4.1.1 สิ่งดี ๆ ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของเชียงคาน
             ในพื้นที่ของเชียงคานมีสิ่งดี ๆ ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งผลการระดมความคิดเห็นส่วนใหญ่
          พบว่า
             1
             1) ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล (embodied form)) ทุนวัฒนธรรมที่อยู่ในตัวบุคคล (embodied form) ได้แก่ คนเชียงคานเอง อุปนิสัยของ
                     ้
          คนเชียงคานที่มีนำาใจ เอื้ออาทร รักบ้านเกิด และยิ้มสวย ภูมิปัญญาพื้นบ้าน รวมถึงการพูดภาษาถิ่น
          ของคนเชียงคานที่เป็นเอกลักษณเฉพาะ สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณที่กล่าวว่า คนเชียงคาน
                                  ้
          ที่ผ่านมาอยู่อย่างยั่งยืน คนพื้นที่มีนำาใจดีต่างจากที่อื่น เพื่อนบ้านเรือนเคียงสามารถที่จะช่วยดูแล
          เป็นหูเป็นตาให้กันและกันได้ (02 [สัมภาษณ], 26 กรกฎาคม 2566) คนเชียงคานค่อนข้าง
                                         ้
                                                                      ้
                          ้
          มีความเป็นชาตินิยมมีนำาใจต่อกันมาก ห้องนำาบ้านตัวเองไม่พอยังสามารถไปเข้าห้องนำาบ้านอื่น
           42
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49