Page 36 - kpiebook67035
P. 36

การเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคมของชาติเพื่ออนาคตประชาธิปไตยไทย
           กรณีศึกษาการใช้ทุนทางวัฒนธรรม
           เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมในพื้นที่เทศบาลตำาบลเชียงคาน

          ให้เกิดประโยชนแก่ชุมชนเป็นสำาคัญ อีกทั้งคุณลักษณะสำาคัญของนวัตกรรมชุมชนยังต้องมี
          ความสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและทุนทางสังคมในพื้นที่ด้วย ปัจจัยความสำาเร็จคือ ความ
          ร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกชุมชน รวมไปถึงเป็นการดำาเนิน
          กิจกรรมที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่จึงมีส่วนทำาให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างมองเห็นถึงจุดมุ่งหมาย
          เดียวกันอย่างชัดเจน มีทิศทางการทำางานตรงกัน และได้รับความร่วมมือด้วยดี
             2.6.3 การพัฒนาคุณภาพสังคมด้วยทุนทางวัฒนธรรม
                 ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2565) ได้ทำาการวิจัยธรรมาภิบาลในการพัฒนาคุณภาพสังคม
          ด้วยศิลปะชุมชนละงู จังหวัดสตูล โดยคณะผู้วิจัยจัดทำากระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชน
          ในพื้นที่เพื่อคิดค้นกิจกรรมหรือโครงการในการพัฒนาคุณภาพสังคม หนึ่งในกิจกรรมที่เกิดจาก
          กระบวนการได้แก่ การดำาเนิินกิจกรรมศิิลปะชุมชน ที่มีการกำาหนดจุุดวาดภาพในพื้นที่จำานวน
          6 จุุด รวม 26 ภาพแล้วนำาไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม ความสมานฉันท การเป็นสมาชิก
          ทางสังคม การเสริมสร้างพลังทางสังคม โดยมีปัจจัยสำาเร็จที่เกี่ยวข้องกับทุนวัฒนธรรม ทุนทาง
          สังคม และความเป็นพลเมือง ได้แก่ ตัวกิจกรรมมาจากความต้องการของคนในพื้นที่ รูปแบบ
          ของภาพศิลปะหรือภาพเกิดจากความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนที่ต้องการ
          ดึงเอกลักษณของตนมานำาเสนอผ่านรูปวาดบนผนังตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่ มีความร่วมแรงร่วมใจ
          ทั้งด้านงบประมาณ อุปกรณวาดภาพ และกำาลังคนที่จะช่วยให้กิจกรรมสำาเร็จ แสดงให้เห็นว่า
          มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ดี นอกจากนี้ การดำาเนินกิจกรรมจนประสบความสำาเร็จเพราะ
          มีการสื่อสารและสร้างเครือข่าย โดยมีการประชาสัมพันธกิจกรรมเพื่อให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม
          ตามความถนัด
             2.6.4 การจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเมืองในเขตเทศบาลนครสงขลา
                 งานศึกษาของเปรมชัย จันทรจำาปา (2559) ได้ศึกษาการจัดการทุนทางวัฒนธรรมของ
          ภาคส่วนต่าง ๆ ในเทศบาลนครสงขลา ทั้งภาครัฐ องคกรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน
          ที่ส่งผลต่อการพัฒนาเมือง ผลการศึกษาพบว่า องคประกอบของการจัดการทุนทางวัฒนธรรม
          ทั้ง 4 ด้าน อันได้แก่ ทุนวัฒนธรรมของเมือง พันธะการลงทุนของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          ทัศนคติของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการทุน
          ทางวัฒนธรรม และประเด็นลักษณะการจัดการทุนทางวัฒนธรรม ล้วนส่งผลให้ประชาชน
          เมืองสงขลามีความตื่นตัวในเรื่องการจัดการทุนทางวัฒนธรรมอย่างมาก ซึ่งองคประกอบที่
          สำาคัญที่สุดก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทุนทางวัฒนธรรม โดยจะเห็นได้จาก





           34
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41