Page 90 - kpiebook67026
P. 90

89



                      นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 2003 Vanclay ได้อธิบายขยายความค�าว่าการประเมิน
               ผลกระทบทางสังคม โดยอธิบายว่าหมายถึง กระบวนการวิเคราะห (analyze) ติดตาม

               ตรวจสอบ (monitor) และจัดการ (manage) บรรดาผลกระทบทั้งที่ตั้งใจให้เกิด
               และไม่ตั้งใจให้เกิด ทั้งในด้านดีและด้านร้าย ที่จะเกิดจากมาตรการแทรกแซง อันได้แก่

               นโยบาย แผนงาน แผนการและโครงการ รวมทั้งวิเคราะห ติดตามตรวจสอบและจัดการ
               บรรดาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการแทรกแซงรูปแบบ

               เหล่านั้นเพื่อท�าให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อสังคมมนุษยอย่างยั่งยืนและ
               เท่าเทียม 26




               2.6 ความส�าคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม


                      ได้กล่าวมาบ้างแล้วในบทก่อน ๆ ว่าการท�า RIA มีความส�าคัญหลายประการ
               และกฎหมายไทยได้ก�าหนดให้ต้องมีการท�า RIA ก่อนกระบวนการตรากฎหมาย โดย RIA

               เป็นแนวคิดที่ประเทศไทยรับเข้ามาจากต่างประเทศ ในหัวข้อนี้จะเสนอว่าในแง่หลักสากล
               แล้ว การท�า RIA มีความส�าคัญอย่างไร และมีตราสารระหว่างประเทศ (international

               instruments) ใดบ้างหรือไม่ที่ก�าหนดให้มีการท�า RIA เป็นการเฉพาะ โดยในที่นี้อาจ
               พิจารณาความส�าคัญของการท�า RIA ในบริบทสากลใน 2 แง่มุม อันได้แก่ ความส�าคัญ

               ในฐานะเครื่องมือให้ข้อมูลในกระบวนการตัดสินใจออกกฎหมายและก�าหนดนโยบาย
               และความส�าคัญในฐานะเครื่องมือที่จะช่วยให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน




                     2.6.1 ความส�าคัญในฐานะเครื่องมือให้ข้อมูลในกระบวนการ

                     ตัดสินใจออกกฎหมายและก�าหนดนโยบาย

                      การวิเคราะหผลกระทบในระดับนโยบายมีความส�าคัญเนื่องจากการพิจารณา

               ผลกระทบในระดับนโยบายซึ่งเป็นระดับที่อยู่สูงกว่าระดับโครงการหรือกิจกรรมย่อมมี
               ส่วนช่วยให้เห็นปัญหาหรือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในภาพรวมและภาพกว้างได้มากกว่า


               26    Frank Vanclay, ‘International Principles for Social Impact Assessment’ (2003) 21
               (1) Impact Assessment and Project Appraisal 5. อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย
               สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”,
               2564, น. 36
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95