Page 95 - kpiebook67026
P. 95
94 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ก่อนการตรากฎหมายอย่างมีส่วนร่วม และ RIA เป็นเครื่องมือและวิถีทางที่จะช่วยให้
เกิดกลไกดังกล่าวได้เอง หรือกล่าวได้ว่า RIA มีส่วนเป็นกลไกที่จะท�าให้เกิดการพัฒนา
ที่ยั่งยืนได้นั่นเอง
ในส่วนที่ท�าให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาที่ยั่งยืนกับกลไกการประเมิน
ผลกระทบนั้น อาจพิจารณาได้ว่า โดยลักษณะของกลไกการวิเคราะหผลกระทบ
ที่จะต้องประเมินผลกระทบแต่ละด้านประกอบกันก็จะเป็นการประเมินแบบองครวม
39
ที่เป็นหนทางหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ เนื่องจากโดยลักษณะพื้นฐาน
ของ RIA ที่เป็นการประเมินผลกระทบต่อหลายภาคส่วนอย่างเป็นกิจจะลักษณะและ
มีลักษณะเป็นการประเมินแบบบูรณาการ (integrated policy appraisal) ย่อมมีส่วน
ท�าให้มีบุคคลหรือผู้เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนปัญหาหรือร่วมกัน
ในกระบวนการมากยิ่งขึ้น โดยนัยดังกล่าวนี้ย่อมส่งผลให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม
40
ในการตัดสินใจของรัฐซึ่งเป็นหัวใจส�าคัญของหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามไปด้วย
จึงอาจกล่าวได้ว่า RIA เป็นกลไกส�าคัญที่เข้ามาช่วยเติมเต็มความโปร่งใสตรวจสอบได้
ของการตัดสินใจของรัฐในระดับนโยบาย นอกเหนือจากการตัดสินใจในระดับโครงการ
ซึ่งปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกรวมทั้งไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมรองรับอย่างชัดเจน
39 Duncan Russel and John Turnpenny ‘The Politics of Sustainable Development
in UK Government: What Role for Integrated Policy Appraisal?’ (2009) 27
Environment and Planning C: Politics and Space 340, 341, อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรม
เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
ในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 40
40 ibid.
ที่ว่าการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมถือเป็นการด�าเนินการที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน
นั้นก็เนื่องจาก หากพิจารณาหลักการที่ 10 และหลักการที่ 4 ของปฏิญญาริโอประกอบกันจะพบ
ข้อความคิดส�าคัญเกี่ยวกับความส�าคัญของการมีส่วนร่วมสาธารณะ สรุปใจความได้ว่ารัฐมีหน้าที่จัดให้
มีกลไกการมีส่วนร่วมสาธารณะ (participation of all concerned citizens) ในทุกระดับในลักษณะ
ต่าง ๆ ซึ่งร่วมถึงการมีส่วนร่วมในแง่การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (access to information) และการมี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน (participation in decision-making
process) อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและ
วิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 40