Page 96 - kpiebook67026
P. 96

95



                      มีข้อสังเกตประการหนึ่งว่า หากพิจารณาเอกสารที่วางแนวทางและวิธีการ
               ท�า RIA ของ EU ในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาเอกสารที่มีการเผยแพร่ก่อนปี

               ค.ศ. 2010 มักมีการจ�าแนกประเภท แนวทางและวิธีการวิเคราะหผลกระทบทางสังคม
               ออกจากการวิเคราะหผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน โดยการจ�าแนกที่เพิ่งกล่าว

               ไปนั้นก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงทศวรรษก่อนยังมีแนวคิดการแยก
               การวิเคราะหผลกระทบทางสังคมออกอย่างเป็นเอกเทศ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณา

               เอกสารของ EU (รวมทั้งของ OECD) ซึ่งจะได้กล่าวต่อไปจะพบว่าเอกสารที่มีการจัดท�า
               หลังปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ไม่ได้มีการแยกแนวทางวิธีการวิเคราะหผลกระทบด้าน

               สังคมอย่างเป็นเอกเทศอีกต่อไป ซึ่งอาจสะท้อนแนวคิดใหม่ว่าปัจจุบันไม่มีความจ�าเป็น
               ต้องแยกการวิเคราะหผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจออกจากกัน เพราะในทางที่สุด

                                                              41
               ผลกระทบทั้งสองด้านมักมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นแฟ้น  นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติ
               ของการวิเคราะหผลกระทบในการท�า RIA นั้น จะเป็นการวิเคราะหข้อเสนอทางกฎหมาย

               รายฉบับ ซึ่งโดยสภาพย่อมไม่อาจจะท�าการวิเคราะหผลกระทบทางสังคมแต่เพียง
               ด้านเดียวได้ หากแต่ต้องค�านึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมรวมถึง

               ผลกระทบหรือค�านึงถึงข้อพิจารณาด้านอื่น ๆ ไปในขณะเดียวกันด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว
               จึงไม่ได้มีการจัดท�าแนวทางการวิเคราะหผลกระทบแบบแยกส่วนอีก


                      อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรอบการศึกษาหลักของรายงานการศึกษานี้มุ่งพิจารณา
               แนวทางและวิธีการวิเคราะหผลกระทบทางสังคมเป็นหลัก ดังนั้น ในบทนี้จะพยายาม

               น�าเสนอแนวทางและวิธีการวิเคราะหผลกระทบที่เน้นกล่าวถึงในมิติด้านสังคมให้
               มากที่สุดควบคู่ไปกับการน�าเสนอบทเรียนและแนวทางด�าเนินการตามหลักสากล

               ที่เป็นปัจจุบันให้มากที่สุด


               41    เช่นเดียวกับที่จะเห็นแนวทางและวิธีการวิเคราะหผลกระทบของประเทศต่าง ๆ ในบทต่อไป
               ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกัน คือในปัจจุบันแทบจะไม่มีการแยกตัวอย่างแนวทางและวิธีการวิเคราะห
               ผลกระทบทางสังคมออกจากด้านเศรษฐกิจอีกต่อไป ซึ่งเหตุผลหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากฐานคิดของการท�า
               RIA ที่พยายามจะให้มีการวิเคราะหผลกระทบออกมาเป็นตัวเลขให้มากที่สุดท�าให้ในท้ายที่สุด
               มีความจ�าเป็นต้องน�าหลักการวิเคราะหที่นิยมใช้ในทางเศรษฐกิจ เช่น การวิเคราะหแบบ cost-benefit
               analysis และ cost-effectiveness analysis เป็นต้น มาใช้ในการวิเคราะหด้านสังคมให้มากเท่าที่
               จะท�าได้ ส่งผลให้ในแง่วิธีการวิเคราะหผลกระทบทั้งสองด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส�าคัญ
               อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการ
               วิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 41
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101