Page 94 - kpiebook67026
P. 94
93
35
1995) จะพบว่านานาประเทศให้การยอมรับว่าควรมีการสร้างกลไกด�าเนินการที่เอื้อ
ให้การพัฒนาทางสังคมเกิดขึ้นได้จริงโดยให้ความส�าคัญกับการบริหารจัดการภาครัฐ
36
ที่โปร่งใส (transparent) และมีความรับผิดชอบ (accountable) โดยการด�าเนินการ
ที่ช่วยให้เกิดผลลัพธดังกล่าวได้จริงนั้นรวมไปถึงการสร้างกลไกทางกฎหมายที่เป็นไปตาม
รัฐธรรมนูญและกฎหมายภายในของแต่ละประเทศตลอดจนสอดคล้องกับพันธกรณี
ระหว่างประเทศ (international obligation) โดยรวมไปถึงการส่งเสริมให้เกิด
ความเท่าเทียมทางเพศ การเคารพสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม (rule of law) การเข้าถึง
กระบวนการยุติธรรม การขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบ การส่งเสริมบทบาทการมี
ส่วนร่วมขององคกรภาคประชาสังคม 37
ในขณะเดียวกัน ปฏิญญาโคเปนเฮเกนยังให้ความส�าคัญกับการสร้างกลไก
ด�าเนินการของรัฐที่ส่งเสริมให้ภาคประชาสังคม (civil society) เข้ามามีส่วนร่วมกับ
การพัฒนาสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา สุขภาพ การแก้ปัญหาความยากจน
สิทธิมนุษยชนและคุณภาพชีวิต โดยกลไกหนึ่งที่รัฐควรด�าเนินการ ได้แก่ การจัดให้มี
กรอบด�าเนินการทางกฎหมาย นโยบาย ที่เอื้อให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม
ในการออกแบบและด�าเนินการให้เกิด (implement) และประเมิน (evaluate)
ยุทธศาสตรและแผนงานเกี่ยวกับการพัฒนาทางสังคม 38
แม้ว่าปฏิญญาโคเปนเฮเกนว่าด้วยการพัฒนาทางสังคมจะไม่ได้ก�าหนดให้ต้อง
มีการท�า RIA อย่างชัดเจน แต่กลไกหนึ่งที่จะสร้างลักษณะอันพึงประสงคข้างต้นได้จริง
ในกระบวนการออกกฎหมายก็คือการสร้างกลไกการประเมินหรือวิเคราะหผลกระทบ
35 การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นในเดือนมีนาคม ปี 2538 ณ กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของประเทศ
เดนมารก โดยมีข้อสรุปหลักเป็นเรื่องการพัฒนาคนเป็นศูนยกลางของการพัฒนา โดยประเทศต่าง ๆ
ให้ค�ามั่นว่าจะเอาชนะปัญหาความยากจนรวมทั้งการส่งเสริมให้มีการผนวกเอาประเด็นด้าน
สังคมให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวการพัฒนา ดู United Nations, ‘World Summit for Social
Development 1995’ <www.un.org/development/desa/dspd/world-summit-for-
social-development-1995.html> เข้าถึงเมื่อ 4 กรกฎาคม 2564, อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรม
เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
ในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 39
36 paragraph 26.
37 paragraph 29.
38 paragraph 85.