Page 89 - kpiebook67026
P. 89

88     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



            ซึ่งรวมถึงข้อเสนอกฎหมายด้วย ประการที่สอง RIA มีลักษณะเป็นการวิเคราะห
            ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และประการที่สาม มุ่งที่จะท�าให้มีข้อมูล

                                             23
            หรือหลักฐานที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ  อย่างไรก็ตาม การประเมินหรือพิจารณา
            ผลกระทบเชิงนโยบายที่ใช้ในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกัน เช่น บางประเทศ

            อาจมีการประเมินหรือพิจารณาผลกระทบหลังจากที่มีการใช้นโยบายไปแล้ว (ex-post
            assessment) แต่การประเมินผลกระทบจากนโยบายที่จะกล่าวถึงในบทนี้มีความหมาย

            เช่นเดียวกับที่กล่าวในบทก่อน ๆ ได้แก่การประเมินผลกระทบก่อนที่จะมีการใช้นโยบาย
            หรือกฎหมาย (ex-ante assessment)


                   แม้หลายประเทศและหน่วยงานต่าง ๆ อาจเรียกชื่อการท�า RIA ที่แตกต่างกัน
            แต่กลไกเหล่านั้นก็มีลักษณะร่วมกันบางประการโดยนอกเหนือจากความเหมือน

            ในแง่นิยามที่ได้กล่าวไปแล้ว RIA มักต้องด�าเนินการโดยขั้นตอนในทางบริหารโดย
            หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างเป็นกิจจะลักษณะ (formal administrative procedure)

            และท�าการสรุปผลออกมาอย่างชัดเจนในลักษณะของรายงานหรือเอกสารที่เปิดเผย
            ชัดเจน 24


                   และหากพิจารณาความหมายโดยทั่วไปของค�าว่าการประเมินผลกระทบ
            ทางสังคมในงานเขียนของ Burdge และ Vanclay (1996) อธิบายความหมายได้ว่า

            หมายถึงกระบวนการประเมิน (assessing) หรือคาดการณ (estimating) ล่วงหน้า
            เพื่อให้ทราบผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากการด�าเนินการทางนโยบาย

                                                   25
            (ซึ่งรวมถึงกฎหมายด้วย) หรือกิจกรรมการพัฒนา  โดยผลกระทบใดจัดเป็นผลกระทบ
            ทางสังคมนั้น อาจพิจารณาได้จากความหมายของผลกระทบทางสังคมที่ Burdge

            และ Vanclay น�าเสนอและได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อก่อน







            23    TEP and CEPS (n 7) 11. อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
            เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 35
            24    Hertin and others (n 10). อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
            เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 36
            25    Burdge and Vanclay (n 4). อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
            เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 36
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94