Page 85 - kpiebook67026
P. 85
84 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
12
และการท�างาน เป็นต้น นอกจากนี้ นักวิชาการทั้งสองท่านยังได้อธิบายขยายความ
ค�าว่าผลกระทบด้านวัฒนธรรม (cultural impact) อันเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบ
ทางสังคมด้วยว่าได้แก่บรรดาผลกระทบที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อบรรทัดฐานทางสังคม
(norms) คุณค่า (values) และความเชื่อ (beliefs) ของบุคคล ซึ่งท�าหน้าที่ชี้น�าและ
ให้เหตุผลด้านการหยั่งรู้ (cognition) ตนเองและสังคมรอบข้าง 13
มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าในบางกรณี กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (social
change process) ที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้ส่งผลกระทบทางสังคม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคืน
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอาจไม่ถือว่าเป็นผลกระทบทางสังคม เช่น โดยทั่วไปแล้ว
ในสังคมหนึ่ง ๆ อาจมีการเพิ่มขึ้นของจ�านวนประชากรซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มจ�านวนประชากรอาจไม่ถือเป็นผลกระทบ
ทางสังคมก็ได้ เพราะอาจท�าให้สังคมนั้นมีแรงงานเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลดีทางเศรษฐกิจ
โดยการเพิ่มของประชากรจะถือว่าเป็นผลกระทบทางสังคมต่อเมื่อการเพิ่มดังกล่าว
14
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและขาดการวางแผน เป็นต้น
2.5.1.2 นิยามในรายงานการศึกษาที่สรุปการจัดแบ่งผลกระทบด้าน
สังคมในกลุ่มประเทศ EU
ในรายงานการศึกษาที่สรุปการจัดแบ่งผลกระทบด้านสังคมในกลุ่มประเทศ EU
มีการสรุปความค�าว่าผลกระทบทางสังคมว่าหมายถึง ผลกระทบที่ส่งผลต่อปัจเจกบุคคล
หรือกลุ่มของปัจเจกบุคคล (เช่น ครัวเรือน ครอบครัว กลุ่มประชากรในบางพื้นที่)
โดยผลกระทบทางสังคมสามารถแยกออกจากผลกระทบทางเศรษฐกิจได้จากผลกระทบ
อย่างหลังส่งผลต่อภาคธุรกิจ งบประมาณภาครัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ และสามารถ
แยกออกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได้จากการที่ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมักเกี่ยวข้อง
12 Rabel Burdge and Frank Vanclay, ‘Social Impact Assessment: A Contribution
to the State of the Art Series’ (1996) 14 (1) Impact Assessment 59, อ้างถึงใน ส�านัก
นวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบ
ทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 32
13 ibid.
14 Frank Vanclay and others, ‘Social Impact Assessment: Guidance for Assessing
and Managing the Social Impacts of Projects’ (International Association for Impact
Assessment 2015) 2. อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 33