Page 82 - kpiebook67026
P. 82
81
จะพิจารณาว่านโยบายมีผลต่อประโยชนขององคการและของบุคลากร
อย่างไร นโยบายบางนโยบายอาจขัดแย้งกับทัศนคติเป็นอย่างมาก หรือ
ขัดแย้งกับผลประโยชนส่วนตัวและผลประโยชนขององคการ ทัศนคติ
ของผู้ปฏิบัติหลาย ๆ กรณีจึงเป็นอุปสรรคและส่งผลกระทบทั้งทางตรง
และทางอ้อมต่อการน�านโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้นผู้ตัดสินนโยบายต้องพยายาม
ลดการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวของผู้ปฏิบัติให้น้อยที่สุด
(5) สมรรถนะของหน่วยงานปฏิบัติ
ลักษณะความเป็นทางการและไม่เป็นทางการขององคการมีผลต่อ
ความสามารถในการปฏิบัติตามมาตรฐานของนโยบาย ทั้งทางตรงและ
9
ทางอ้อม
ปัจจัยส�าคัญประการหนึ่งคือ ประสบการณและความสามารถของ
เจ้าหน้าที่ในการท�างานที่ได้รับมอบหมาย และสถานภาพของหน่วยงาน
ภายในองคกร องคกรที่ปราศจากความสนับสนุนทางการเมืองและ
งบประมาณอย่างเพียงพอหรือปราศจากความช่วยเหลือในการตัดสินใจ
และการจ้างเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพ จะประสบปัญหาในการบริหารแผนงาน
และโครงการอย่างรุนแรง
2.4.2 เครื่องชี้วัดประสิทธิผลในการน�านโยบายไปปฏิบัติ
วรเดช จันทรศร ได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความส�าเร็จหรือ
10
ความล้มเหลวของการน�านโยบายไปปฏิบัตินั้นมีความแตกต่างอย่างน้อย 3 แนวทาง คือ
แนวทางแรก สามารถวัดได้จากระดับของความร่วมมือที่ผู้รับนโยบายไปปฏิบัติ
ที่มีต่อผู้ออกค�าสั่งหรือผู้ก�าหนดนโยบาย ถ้าระดับของความร่วมมือสูงจะขอความส�าเร็จ
ก็จะสูงตามไปด้วย และในทางกลับกันถ้าระดับของความร่วมมือต�่า ระดับความล้มเหลว
ในการน�านโยบายไปปฏิบัติก็จะมีสูง
9 Francis E. Rourke, Bureaucracy, politics, and public policy, 1969
10 วรเดช จันทรศร, ทฤษฎีการน�านโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ, 2534, น.200 - 195