Page 78 - kpiebook67026
P. 78
77
2.4.1 ปั จจัยที่มีอิทธิพลต่อการน�านโยบายไปปฏิบัติ
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการน�านโยบายไปปฏิบัติ (Factors Influencing
Policy Implementation) จะท�าให้ทราบว่าในกระบวนการน�านโยบายไปปฏิบัตินั้น
ความส�าเร็จ (success) หรือความล้มเหลว (failure) ของการน�านโยบายไปปฏิบัติ
ขึ้นอยู่กับปัจจัยส�าคัญหลายประการ ทั้งนี้ เพราะความส�าเร็จของแผนงาน (programs)
และโครงการ (projects) มีความสัมพันธกับความสามารถของผู้น�าและภาวะผู้น�า
ขององคกรความชัดเจนของวัตถุประสงคของนโยบาย และความส�าเร็จที่เคยเกิดขึ้น
ในอดีต ในขณะที่ความล้มเหลวของแผนงานและโครงการเป็นผลมาจากความเฉื่อยชา
ของผู้น�าและผู้ปฏิบัติ การขาดความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนแผนงานและ
โครงการ การขาดความพยายามที่เพียงพอ การขาดการสนับสนุนจากผู้น�า การขาด
เงินทุนที่พอเพียงส�าหรับการด�าเนินงาน และการขาดผู้น�าที่มุ่งมั่นต่อการน�านโยบาย
ไปปฏิบัติให้ประสบความส�าเร็จ
ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการน�านโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความส�าเร็จ
ขึ้นอยู่กับปัจจัยส�าคัญหลายประการ ได้แก่ แหล่งที่มาของโนบาย (source of the
policy) ความชัดเจนของนโยบาย (clarity of the policy) การสนับสนุนนโยบาย
(support for the policy) ความซับซ้อนในการบริหารงาน (complexity of the
administration) สิ่งจูงใจของผู้ปฏิบัติ (incentives for implementers) และ
การจัดสรรทรัพยากร (resource allocation) เพื่อสนับสนุนการน�านโยบายไปปฏิบัติ
ให้เหมาะสมและพอเพียง ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้จะได้รับผลกระทบจากเงื่อนไข
ที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ข้อจ�ากัดทางกฎหมาย ความจ�าเป็นในการพิจารณา
ตามหลักเหตุผลของระบบราชการ เป็นต้น
3
ส�าหรับการวิเคราะหการน�านโยบายไปปฏิบัติไม่ได้ต้องการเห็นการวัดผล
การปฏิบัติตามแผนงาน แต่เป้าหมายหลักต้องได้มาจากการอธิบาย (explanations)
ต่อเหตุการณและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนโยบายระดับชาติและผลของนโยบาย
นั้น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการน�านโยบายไปปฏิบัติที่ส�าคัญประกอบด้วย
มาตรฐานและทรัพยากรนโยบาย การสื่อข้อความ การบังคับใช้กฎหมาย คุณลักษณะ
3 Brever and DeLeon, The Foundations of Policy Analysis, 1983