Page 83 - kpiebook67026
P. 83

82     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



                   แนวทางที่สอง สามารถพิจารณาได้จากเงื่อนไขที่มีการบรรลุผลปฏิบัติตาม
            นโยบายนั้นตามภาระหน้าที่ขององคกรที่รับผิดชอบด้วยความราบรื่น และปราศจาก

            ปัญหาถ้าการปฏิบัติตามนโยบายใดเต็มไปด้วยความขัดแย้งหรือมีอุปสรรคขัดข้อง
            มากขึ้นเท่าใดระดับความล้มเหลวก็น่าจะมีสูงขึ้นเท่านั้น


                   แนวทางที่สาม สามารถพิจารณาได้จากการที่นโยบายนั้นได้ก่อให้เกิดผล
            การปฏิบัติในระยะสั้น (Short-run Performance) และหรือก่อให้เกิดผลกระทบ

            (Impact) ตามที่พึงปรารถนาหรือไม่

                   หากวิเคราะหเปรียบเทียบการวัดความส�าเร็จของการน�านโยบายไปปฏิบัติ

            3 แนวทางข้างต้นอาจกล่าวได้ว่า ในแนวทางแรกนั้นเกี่ยวกับปัญหาพฤติกรรมของ
            ระบบราชการ ซึ่งอยู่ในความสนใจของนักทฤษฎีองคกรเป็นส่วนใหญ่ แต่นักรัฐศาสตร

            และนักรัฐประศาสนศาสตรอาจให้ความสนใจน้อยเพราะหากผู้ปฏิบัติให้ความร่วมมือ
            แค่ไหนก็ตาม ย่อมจะไม่มีความหมายเลยหากนโยบายนั้นไม่มีผลการปฏิบัติที่แน่ชัด

            แนวทางที่สองในสภาพความเป็นจริง นโยบายที่ถูกน�าไปปฏิบัติส่วนใหญ่ย่อมเผชิญ
            ปัญหาและความขัดแย้งแทบทั้งสิ้น ดังนั้น การบอกว่าการน�านโยบายไปปฏิบัติ

            จะประสบความล้มเหลวมากน้อยต่างกันเพราะการมีปัญหาหรือขัดแย้งนั้น อาจไม่
            ตรงข้อเท็จจริงนัก แนวทางที่สาม มีขอบข่ายกว้างโดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติ

            ในระยะสั้นว่า มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงคของนโยบายเพียงใดและก็ต้องดูถึง
            ผลกระทบของนโยบายในระยะยาวว่า สามารถบรรลุวัตถุประสงคตามที่ตั้งไว้เพียงใด

            และก็ต้องดูถึงผลกระทบของนโยบายในระยะยาวว่า สามารถบรรลุวัตถุประสงค
            ตามที่ตั้งไว้เพียงใด ส่วนความล้มเหลวของการน�านโยบายไปปฏิบัติก็คือ การไม่สามารถ

            ปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงคของนโยบายได้
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88